ผลการจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI–V) หอผู้ป่วยใจสว่าง โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ ขุนศรี โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง, อาการทางจิต, ความสามารถโดยรวม

บทคัดย่อ

               การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อน–หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious mental illness with high risk to violence: SMI–V) ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใจสว่างโรงพยาบาลสกลนคร ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด SMI–V ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2566 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบแผนการประเมินอาการ
ทางจิต (BPRS) 2) แบบประเมินความสามารถโดยรวม และ 3) การดูแลตามแนวคิดการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีโดยใช้แผนการดูแลเป็นลักษณะการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยเพื่อสนองความต้องการ มีผู้รับผิดชอบระบบให้การดูแลเป็นผู้จัดการดูแลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที (dependent t–test)

                ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการดูแลตามแนวคิดการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีค่าเฉลี่ยการประเมินอาการทางจิตน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001) ค่าเฉลี่ยการประเมินความสามารถโดยรวมมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001) โปรแกรมการดูแลตามแนวคิดการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีทำให้ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด SMI–V มีระดับความสามารถโดยรวมดีขึ้น คะแนน BPRS น้อยกว่า 36 คะแนน อาการทางจิตดีขึ้น ลดการกำเริบอาการทางจิตหรือลดความรุนแรงอาการทางจิต

               ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด SMI–V ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน พยาบาลควรมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ วางแผนกิจกรรมทางการพยาบาล และประเมินผลอย่างรอบด้านและเหมาะสมเพื่อประเมินความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากอาการทางจิตและลดความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้อื่น

 

Author Biography

ปาริชาติ ขุนศรี, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสกลนคร

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. นนทบุรี: พรอสเพอรัสพลัส; 2563.

เวชระเบียน หอผู้ป่วยใจสว่างโรงพยาบาลสกลนคร.สรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564–2565(ตุลาคม 2564–มิถุนายน 2565). สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2565.

บุรฉัตร จันทร์แดง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดงหลวงวิทยา อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560.

นิตยา ตากวิริยะนันท์. การพยาบาลผู้ที่ได้รับยาทางจิตเวช. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Dieterich M, Irving CB, Park B, Marshall M. Intensive case management for severe mental illness. Cochrane Database Syst Rev 2017;1(1):CD007906.

มีนูชรามา, สุรศักดิ์ฐานีพานิชสกุล. ลักษณะผู้ป่วยทางจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรงในโรงพยาบาลตติยภูมิกรุงนิวเดลี. ว. วิจัยสุขภาพ 2551;22(Suppl):29–32.

Hemarat K, Siengchokyoo P, Khunarak U, Panasuna N. Effects of case management in schizophrenic patients on medication compliance and relapse. The journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2012;26(2):62–73.

Sreewisan J, Chaichumni N. Effects of case management on lenth of stay, health care cost service satis faction of patients and relative and relaped rate of schizophrenic patients. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2005;19(1):48–59.

ปัฐยาวัชร ปรากฎผล. พยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;28(1):112–21.

กาญจนา เหมะรัตน์, เพลิน เสี่ยงโชคอยู่, อุ่นจิตร คุณารักษ์, นิรมล ปะนะสุนา. ผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยจิตเภทต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและการป่วยซ้ำ. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2555;26(2):63–73.

นุษณีเอี่ยมสอาด, ปพิชญา ทวีเศษ, และ พรเลิศ ชุ่มชัย. ผลการจัดการรายกรณีต่อความสามารถ โดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรง .ว.สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา2563;14(1):10–22.

วัฒนาภรณ์พิบูลอาลักษณ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, วิภาวีเผ่ากันทรากร, และวีรพล อุณหผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการแกว่งแขน ต่อดัชนีมวลกายและค่าน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. ว. การปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561;5(2):5–18.

OverallJE, Gorham DR. Thebriefpsychiatricratingscale.Psychological Reports1962;10:799–812.

พันธุ์นภา กิตติรัตน์ไพบูลย์ โครงการอบรม แนวทางการสัมภาษณ์และให้คะแนน BPRS ในรูปแบบของ T–PANSS. ใน เอกสารประกอบการ บรรยายเรื่องการประเมินอาการผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2544.

Laird E, Holcomb P. Elective Case Management: Key Elements and Practice from the Field Issue Brief [Internet]. 2011 [2017 Oct 12]. 1–13 Available from: https://www.mathematica–mpr.com/–/ media/publications/pdfs/labor/case management_ brief.pdf

ณัฐติกา ชูรัตน์. การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีเหล็ง ที่ประสบปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้. ว. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์2559;3(1):24–36.

ณัฐพณ บุตตะโยธี. กระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ว. วิชาการสำนักงานสาธรณสุข จังหวัดมหาสารคาม 2564;5(9):77–88.

Glettler E, Leen MG. The advanced practice nurse as case manager. Journal of Case Management 1996;5(3):121–6.

Thompson K, Kulkarni J, Sergejew AA. Reliability and validity of a new Medication Adherence Rating Scale (MARS) for the psychoses. Schizophrenia Research 2000;42:241–7

Farrelly S, Brown G, Szmukler G, Rose D, Birchwood M, Marshall M, et al. Can the thera peutic relationship predict 18 month outcomes for individuals with psychosis? Psychiatry Research 2014;220(1–2):585–91.

Bromley E. A collaborative approach to targeted treatment development for schizophrenia: aqualitativeevaluation of the NIMH–MATRICSproject.Schizophrenia Bulletin 2005;31(4):954– 61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

1.
ขุนศรี ป. ผลการจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI–V) หอผู้ป่วยใจสว่าง โรงพยาบาลสกลนคร . J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];27(1):68-82. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/1310

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ