การพัฒนารูปแบบสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ , สมรรถนะดิจิทัล , นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ตัวแทนอาจารย์ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ และตัวแทนนักศึกษาทุกชั้นปี เข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยความสมัครใจ รวมทั้งหมด 96 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกต การระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ที่พัฒนาขึ้น คือ พีดีโมเดล (PDE’s Model) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) นโยบาย (Policy) 2) สมรรถนะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาพยาบาล (Digital Competencies) และ3) การประเมินผล (Evaluation) โดยที่สมรรถนะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้และความเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) 2) ทักษะการใช้สื่อดิจิทัล (Digital Skills) 3) คุณลักษณะ (Attributes) 4) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 5) การปรับตัวและเรียนรู้ (Adaptive and Learning) 6) คุณธรรมจริยธรรม กฎหมาย และความปลอดภัย (Ethics, Law and Security) 7) การติดต่อสื่อสารและการร่วมมือกัน (Communication & Collaboration) และ8) การสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creative and Innovations)
สถาบันจึงควรมีการจัดการสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาพยาบาลให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ด้านคุณธรรมจริยธรรม กฎหมาย และความปลอดภัย ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่นักศึกษามีสมรรถนะน้อยกว่าด้านอื่นๆ
References
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. แผนอุดมศึกษาระยะ ยาว 20 ปี พ.ศ. 2561– 2580. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค; 2559.
Partnership for 21st Century Skills. A framework for 21st century learning [Internet]. 2011 [Cited 2012 May 25]. Available from: https://static.battelleforkids.org/documents/p21/p21_framework_brief.pdf
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20220721034051_7a79bf97951b8b2d3a2679ca374a0ebe.pdf
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Edit(1).PDF
วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. สมรรถนะดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. แผนการดำเนินการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2563 – 2567 (ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2564) 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chefile.cmru.ac.th
/cmru/2563/cmru/SAR1/KPI1.7/1.7-2-1.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. แผนส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ปี การศึกษา 2562- 2564; 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://it.tru.ac.th/wp-content/uploads/2020/07/.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. การสอบวัดระดับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี[อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www3.srru.ac.th/storage/uploads/news/files/OFuERrS8UNti2NF4flVRmrCI.pdf
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Microsoft) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://etraining.tpqi.go.th/category/39
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครพนม: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม; 2564.
Cohen JM. and Uphoff NT. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University; 1980.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, อารี ชีวเกษมสุข, และสุภมาส อังศุโชติ. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลของ พยาบาลวิชาชีพไทย. ว. พยาบาลทหารบก 2562;20(3):276–285.
ธรรมสันต์ สุวรรณ์โรจน์, พรรณี ลีกิจวัฒนะ, อรวรรณ แซ่อึ่ง, และอภิศันย์ ศิริพันธ์. สมรรถนะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย: การวิเคราะห์เอกสารวิชาการ. ว. นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2563;12(2):88-106.
พิรดา ผาคำ, สมเกียรติ อินทสิงห์ และนทัต อัศภาภรณ์. แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในยุคการศึกษา 4.0. ว. บัณฑิตวิจัย 2564;12(2):119-131.
สุทธินันท์ ชื่นชม, กัลยา ใจรักษ์, และอำนาจ โกวรรณ. รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. ว. สารสนเทศศาสตร์ 2564;39(2):16-33.
พิสุทธิ์ ศรีจันทร์. การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ว. วิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี 2565;3(2):1-15.
ลัดสะหมี พอนไซ. การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว [วิทยานิพนธ์]. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2565.
Nguyen LAT, & Habok A. A study on Vietnamese undergraduates’ level of digital skills and the frequency of using digital tools in the EFL context [Internet]. 2021 [Cited 2022 sep 15]. Available from: https://dl.acm.org/doi/10.1145/3472410.3472425.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง