ผลของการใช้นวัตกรรม Casing sat สำหรับล็อคสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ผู้แต่ง

  • มารศรี ศิริสวัสดิ์ -
  • อภิสิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 
  • พรพนิต มัชฌิโม โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
  • นันทิกา ฤทธิ์นันท์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในทารก , สายวัดความอิ่มตัวของ Oxygen

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อ 1) เปรียบเทียบระยะเวลาในการวัดความอิ่มตัวออกซิเจนในทารกแรกเกิดระหว่างกลุ่มที่ใช้การวัดแบบเดิมและกลุ่มที่วัดโดยใช้นวัตกรรม Casing sat  และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพหลังใช้นวัตกรรม Casing sat  กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนมจำนวน 11 คน และทารกแรกเกิดที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบเดิม และกลุ่มที่ได้รับการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยนวัตกรรม Casing sat ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ นวัตกรรม Casing sat ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) เปรียบเทียบระยะเวลาในการวัดความอิ่มตัวออกซิเจนในทารกแรกเกิด โดยใช้สถิติ Independent t-test  และ 2) วิเคราะห์ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้นวัตกรรม casing sat โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการคัดกรองโดยใช้นวัตกรรม Casing sat (mean = 8.72, S.D. = 2.73) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบเดิม (mean = 11.82, S.D. = 6.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 2) หลังการใช้นวัตกรรม Casing sat ที่พัฒนาขึ้น พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอในระดับมากถึงมากที่สุด (mean = 4.85, S.D. = 0.37)

Author Biographies

อภิสิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป์ , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 

พรพนิต มัชฌิโม , โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

นันทิกา ฤทธิ์นันท์ , โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

References

เกตน์นิภา สินสุพรรณ์. ความแม่นยำในการใช้เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เพื่อคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงในทารกแรกเกิด ที่จังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2564. ศรีนครินทร์เวชสาร 2565; 37(6):576-587.

จริยา ยงค์ประดิษฐ์. การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤตในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม. ว. แพทย์เขต 4-5 2559;35(4):249-258.

Bakker MK, Bergman JE, Krikov S, Amar E, Cocchi G, Cragan J, et al. Prenatal diagnosis and prevalence of critical congenital heart defects: an international retrospective cohort study. BMJ Open 2019;9(7):e028139.

Plana MN, Zamora J, Suresh G, Fernandez-Pineda L, Thangaratinam S, Ewer AK. Pulse oximetry screening for critical congenital heart defects [Internet]. 2018 [cited 2024 Apr 25]. Available from:https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/

CD011912.pub2/full

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงในทารกแรกเกิดด้วยเครื่อง Pulse oximeter ให้เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม

เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/wpcontent/uploads/2023/03/Finalreport_UCBP65_rapidreview_Pulse-oximeter.pdf.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP). เพิ่มสิทธิคัดกรอง ‘โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง’ ในทารกด้วยเครื่อง ‘pulse oximeter’พร้อมรักษาชีวิตเด็กแรกเกิดทั่วประเทศไทย. Policy Brief 2566;11(151):1-4.

ณัฏฐณิชา ศรีบุณยวัฒน. การพยาบาลเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. พยาบาลสาร 2562;46 (พิเศษ):128-138.

เกวลี ธรรมจํารัสศรี, และวาสนา ปรางวัฒนากุล. การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลพระปกเกล้าโดยใช้เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดทางผิวหนัง. ว. ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562;2(36):134-141.

Amsbaugh S, Scott SD, Foss K. Pulse oximeter screening for critical congenital heart disease: Bringing evidence into practice. Journal pediatric nursing 2015;30(4):591-597.

Martin GR, Ewer AK, Gaviglio A, Hom LA, Saarinen A, Sontag M, et al. Updated strategies for pulse oximetry screening for critical congenital heart disease. Pediatrics 2020;146(1):e2019165.

Thangaratinam S, Brown K, Zamora J, Khan KS and Ewer AK. Pulse oximetry screening for critical congenital heart defects in asymptomatic newborn babies: a systematic review and meta-analysis. Lancet. 2012; 374(9835):2459-2464.

Narayen IC, Narayen IC, Blom NA, Bourgonje MS, Haak MC, Bruijn M et al. Pulse Oximetry Screening for Critical Congenital Heart Disease after Home Birth and Early Discharge. Journal Pediatric 2016;188:192.e1

โรงพยาบาลนครพนม. หอผู้ป่วยเด็ก 2 สถิติทารกแรกเกิดที่ต้องคัดกรองโรคหัวใจปี พ.ศ. 2563-2565. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2565.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. [อินเทอร์เน็ตล]. [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2567] เข้าถึงได้จาก: https://bri.mcu.ac.th/wp-content

รัชนี ชัยประเดิมศักดิ์ และนันทพร พรธีระภัทร ระสิทธิผลของนวัตกรรมปลอกหุ้มสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารก. พยาบาลสาร 2560;2(44):94-102.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

มารศรี ศิริสวัสดิ์, อภิสิทธิ์ ฉกรรจศิลป, และสายพิรุณ ช่วยคูณ. ผลของการใช้ผ้าห่อนิดๆพิชิตตัวเหลืองและการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ต่อระดับบิลลิรูบินในทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2561;21(3):43-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

1.
ศิริสวัสดิ์ ม, ฉกรรจ์ศิลป์ อ, มัชฌิโม พ, ฤทธิ์นันท์ น. ผลของการใช้นวัตกรรม Casing sat สำหรับล็อคสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];27(2):83-94. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2351