ผลของโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยยาเสพติด โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อุดรธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด , ภาวะซึมเศร้า , ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง , ผู้ป่วยยาเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการรักษาในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดแบบกลุ่ม สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 60-90 นาที ต่อเนื่องกัน 6 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง และ3) โปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดลดลงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ โดยในระยะก่อนการทดลองภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 60 หลังการทดลองเสร็จสิ้นไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 50 และอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ30
- ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง (Mean = 70, S.D. = 2.32) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (Mean = 12.35, S.D. = 1.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง (Mean = 29.70, S.D. = 2.32) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (Mean = 16.85, S.D. = 1.57) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป โปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและมีการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยยาเสพติด อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามผลระยะยาวเกี่ยวกับความคงทนของประสิทธิผลที่เกิดขึ้น
References
เอกอุมา อิ้มคำ. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช: การประยุกต์ใช้กรณีเลือกสรร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.
ธิดารัตน์ ห้วยทราย, และวิจิตร แผ่นทอง. การศึกษาความคิดอัตโนมัติด้านลบและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยยาเสพติด. ว. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(3):297-304.
ภูฟ้า เอ็นเตอร์ไพรส์. โรคเเทรกซ้อนที่เกิดจากการติดยาเสพติด มีอะไรบ้าง ป้องกันอย่างไร? [อินเทอร์เน็ต]. กุมภาพันธ์ 2567. [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phufaresthome.com/blog/drugs-addict-complications/
Beck AT. Depression Clinic experimental and theoretical aspects. In: Aaron Beck, editors. Depression: Causes and. New York: Hebert Medical; 1970. p. 44-59.
Beck AT. Structure of the therapeutic interview. In: Aron T. Beck A. Rush J, Brain F. Shaw, and Emery G, editors. Cognitive therapy of depression. New York: Guilford Press; 1979. p. 61-86.
ธนาธิป หอมหวน, มรรยาท รุจิวิชชญ์, และชมชื่น สมประเสริฐ . การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีน. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2557;28(1):81-91.
อัจรา ฐิตวัฒนกุล, สารรัตน์ วุฒิอาภา, และชมชื่น สมประเสริฐ. ผลของโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็กหญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ในสถานแรกรับเด็กหญิง เขตภาคกลาง. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560;31(2):47-63.
ดุษณีย์ ชาญปรีชา, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, สุกุมา แสงเดือนฉาย และสำเนา นิลบรรพ. ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีน. ว. กรมการแพทย์ 2560;42(2):90-101.
Yalom I. The Theory and Practice of Group Psychotherapy. In: The Therapeutic Factors, editors. An Integration. 2nd ed. New York: Basic Books; 1975. p. 103-152.
Sitthimongkol Y, Kaesornsamut, P, Vongsirimas N, & Pornchaikate Au Yeong A. Psychiatric Nursing. Bangkok: Scanart; 2018.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือโปรแกรมบูรณาการการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติด ที่มีโรคร่วมทางจิตเวช (ICOD-R) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ. น่าดู มีเดีย พลัส; 2564.
Peplau HE. Phases and Roles in Nursing. In: Hildegard E. International relations in nursing, editors. A conceptual frame of reference for psychodynamic nursing. New York: Springer; 1952. p. 17-72.
ศิริลักษณ์ ปัญญา, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ผลของกลุ่มจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. ว. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2558;60(2):99-110.
ปริทรรศ ศิลปกิจ, และอรวรรณ ศิลปกิจ. คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของ Rosenberg ในเยาวชนไทย. ว. สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2559;24(1):15-28.
Finkelhor D. A sourcebook on childhood sexual abuse. Thousand Oak: Sage;1986.
Rosenberg M. Society and the Adolescent Self-Image. Middletown, USA: Princeton University Press; 1965.
ปรียนันท์ สละสวัสดิ์, และอัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดอาการซึมเศร้าสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563;34(1):13-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง