การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สมถวิล แพรขาว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์
  • ธิดารัตน์ ห้วยทราย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล, ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

             ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชเป็นพฤติกรรมที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันทีทันใด เพราะพฤติกรรมดังกล่าวส่ง ผลต่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยและบุคคลรอบข้าง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลเมื่อเผชิญกับภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ใช้แนวทางการดำเนินการและผลผลิตการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของกรมสุขภาพจิตเป็นกรอบในการพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน จำนวน 50 คน ของอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ มิถุนายน–ธันวาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง 3) แบบวัดความรู้ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยหาค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคได้เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติแบบทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t–test) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ปฏิบัติงานในชุดปฏิบัติการฉุกเฉินหลังการอบรมพัฒนาศักยภาพฯ (gif.latex?\bar{x} = 15.96, S.D. = 1.94) สูงกว่าก่อนการอบรม (gif.latex?\bar{x}= 11.91, S.D. = 2.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และผู้ปฏิบัติงานในชุดปฏิบัติการฉุกเฉินมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.08, S.D. = 0.61) จึงควรนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินนี้ไปต่อยอดในการพัฒนาต่อเนื่อง ขยายผลการใช้รูปแบบในเครือข่ายอื่นและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุดปฏิบัติการฉุกเฉินในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์ (e–Learning) และฝึกปฏิบัติจริง

Author Biographies

สมถวิล แพรขาว, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

ธิดารัตน์ ห้วยทราย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

References

กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิทย์กิจ, ศิรินภา อภิสิทธิ์ภิญโญ. จิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560.

พยุงศักดิ์ ฝางแก้ว, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2562;33(1):53–69.

Beck AT. Depression Inventory II. San Antonio. TX: The Psychological Corporation; 1979.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, อนุรัตน์ สมตน. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่เข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561;32(2):69–83.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ปีงบประมาณ 2563. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์; 2564.

พรทิพย์ วชิรดิลก และคณะ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน; 2563.

หยกฟ้า เพ็งเลีย และคณะ. การพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลจริมอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. ว.สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2561;26(3):186–196.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการทำงาน. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต; 2559.

พรทิพย์ วชิรดิลก, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด, อัญชุลี เนื่องอุตม์. การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งแบบบูรณาการในประเทศไทย. รายงานวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.

รุจิรา อาภาบุษยพันธ์, สำเนา นิลบรรพ์, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, ญาดา จันประชา, จรุณรักษ์ ยี่ภู่, ธัญญา สิงห์โต. การพัฒนามาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางยาเสพติด. ว. พยาบาลทหารบก 2562;20(1):72–82.

กมลวรรณ สีเชียงสา, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, สายทิพย์ สุทธิรักษา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. ว. เภสัชกรรมไทย 2562;11(2):457–469.

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, นาฎลดา นำภา, ธีราภา ธานี, สุภาพร จันทร์สาม. การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 10. ว. สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2560;26(3):207–219.

ไพจิตร พุทธรอด. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยจิตเภท. ว. วิชาการสาธารณสุข 2561;27(3):478–486.

Parker SD, Arnautovska U, Siskind D, Dark F, McKeon G, Korman N, et al. Community–

care unit model of residential mental health rehabilitation services in Queensland, Australia: predicting outcomes of consumers 1–year post discharge. Epidemiol Psychiatr Sci 2020;29:e109.

เครือวัลย์ แห่งชาติ, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, ทศพล อะกะเรือน. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงต่อการบาดเจ็บทางด้านร่างกาย ในหอผู้ป่วยจิตเวชวิกฤต. รายงานวิจัย กลุ่มภารกิจทางการพยาบาล โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-20

How to Cite

1.
แพรขาว ส, ห้วยทราย ธ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 20 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];25(1):34-42. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2662

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ