ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ของบุคลากรโรงพยาบาลปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • จิริสุดา ธานีรัตน์ โรงพยาบาลปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, บุคลากรโรงพยาบาล, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

          การศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส และการมีส่วนร่วมกิจกรรมสุขภาพทางสังคม ในบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปทุมธานี จำนวน 56 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก เก็บข้อมูลเดือน มกราคม–มีนาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือ คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของคนไทยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมเฉลี่ย 66.36 (S.D. 10.68) คิดเป็นร้อยละ 51.21 อยู่ในระดับไม่ดี คะแนนพฤติกรรมทางสุขภาพ 3อ 2ส เฉลี่ย 22.55 (S.D. 4.52) คิดเป็นร้อยละ 56.37อยู่ในระดับไม่ดี และคะแนนการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเฉลี่ย 7.59 (S.D. 4.30) คิดเป็นร้อยละ 37.95 อยู่ในระดับ ไม่ดี ปัจจัยเพศ ระดับการศึกษา และประเภทของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยเพศหญิงมีระดับความรอบรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่าเพศชาย การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีระดับความรอบรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่าระดับต่ำกว่าปริญญาตรี กลุ่มข้าราชการมีระดับความรอบรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่ากลุ่มพนักงานข้าราชการและกลุ่มลูกจ้าง และพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพและการเข้าร่วมกิจกรรมสุขภาพทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.397, p < 0.05 และ r = 0.345, p < 0.05)

          ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ระดับความรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตามหลัก 3อ 2ส และลดอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคต

Author Biography

จิริสุดา ธานีรัตน์, โรงพยาบาลปทุมธานี

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปทุมธานี

References

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่6 พ.ศ. 2562–2563. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคดีไซน์; 2564.

กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปทุมธานีกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากรโรงพยาบาลปทุมธานีปีงบประมาณ พ.ศ. 2562–2564. ปทุมธานี: กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมโรงพยาบาลปทุมธานี; 2564.

เกศินีสราญฤทธิชัย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่2. ขอนแก่น: สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008;67(12):2072–8.

Edward M, Wood Davies M, Edward A. Thedevelopment of health literacy in patients with long – term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public health 2012;12:130.

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Switzerland: genava; 1998.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนะนำวัยทำงานปฏิบัติตามหลัก 3อ 2สลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อ 15ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=1456

วิมลรัตน์บุญเสถียร และวิลาวัลย์อุดมการณ์เกษตร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 ที่อาศัยในชุมชนจังหวัดปทุมธานี: ความแตกต่างระหว่างเพศ.ว. พยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม 2564;22(43): 48–61.

นิภรดา ยาวิราช พงศ์กรพิทยา, กวินทร์ศุภวิทยโยธิน, ศุภวรรณ ทาดี, วริศรา ใจวัน, มาริศา รัศมีจันทร์, อินทิรา ไชยวงศ์และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://it.nation.ac.th/research/detailproj.php?id=328

ประการ เข้มแข็ง, นันทยา อ่อนคง และ มณีรัตน์วงศ์พุ่ม. การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2สในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในเขตเมืองและชนบท จังหวัดอุตรดิตถ์. ว. วิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2560;4(1);27–44.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์โพธิศิริและ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง.ว. มหาวิทยาลัยศิลปากรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2559;3(6):67–85.

อัญชลีตรีลพ. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรีสิงห์บุรี[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3wBmo9m

อารีย์แร่ทอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. ว. วิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562;15(3):62–70.

พิทยา ไพบูลย์ศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561;8(1):97–107.

สุนันทินีศรีประจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์2565]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2562000901.pdf

Intarakamhang U, Kwanchuen Y. The development and application of the ABCDE–health literacy scale for Thais. Asian Biomedicine 2016;10(6):587–594.

ภัทรานิษฐ์เหมาะทอง,วนิดา ทองโคตรและสุพรรณีอึ้งปัญสัตวงศ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane (Determining the sample size by the Yamane’s formula) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์2565]. เข้าถึงได้จาก: http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_

Yamane.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-20

How to Cite

1.
ธานีรัตน์ จ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ของบุคลากรโรงพยาบาลปทุมธานี. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 20 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];25(1):56-70. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2666

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ