ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับปัญหาอาการไอในผู้ป่วยโรคไข้หวัดกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
โรคไข้หวัด, อาการไอ, ผู้สูงอายุ, สมุนไพรบทคัดย่อ
อาการไอส่วนมากเกิดจากโรคระบบทางเดินหายใจ การใช้ยาแก้ไอจากสมุนไพรช่วยลดอาการไอได้ อย่างปลอดภัย งานวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะอาการไอ ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ การใช้สมุนไพร เพื่อลดอาการไอ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับปัญหาอาการไอในผู้ป่วยโรคไข้หวัดกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับ การวินิจฉัยและรักษาโดยพยาบาลเวชปฏิบัติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสานแว้ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง เดือนมีนาคม 2565 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 70 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 38 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแนว คำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 82.86 มีอายุเฉลี่ย 67.90 ± 0.28 ปีมี ความรู้และความพึงพอใจต่อการรับบริการอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 54.28 มีพฤติกรรมการดูแลอาการไอในระดับมาก ร้อยละ 51.43 มีระดับปัญหาอาการไอโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.17, S.D. = 0.56) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับระดับปัญหาอาการไอในผู้ป่วยโรคไข้หวัดกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยด้านระดับความถี่ในการระคายเคืองคอ ความถี่ ของการไอ ความพึงพอใจในการรับบริการ ความรู้เรื่องไข้หวัด การใช้สมุนไพร และพฤติกรรมดูแลตนเอง อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.05)
References
ยง ภู่สุวรรณ. ไข้หวัดใหญ่สิ่งที่ควรรู้สำหรับประเทศไทย [บทความวิชาการ]. กรุงเทพฯ: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
ดวงธิดา ช่างย้อม, มุกดา เดชประพนธ และพรทิพย์มาลาธรรม. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ว. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2561;24(3):345–360.
พอพล โรจนพันธุ์. ไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ [บทความวิชาการ]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย; 2558.
ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ. การจัดการอาการไอเฉียบพลันในผู้ใหญ่: แนวทางการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับเภสัชกรชุมชน [บทความวิชาการ]. พิษณุโลก: ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.
Madison MJ, Irwin RS. Cough: A Worldwide Problem. Otolaryngol Clin N Am 2010;43(1):113.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่8จังหวัดอุดรธานี. รายงานประเมินความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ โรคไข้หวัดใหญ่. อุดรธานี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ญาดารัตน์บาลจ่าย, ดลนภา สร่างไธสง, เฉลิมศรีเกิดมากมี. ประสบการณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในสังคมเมืองว.สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย2562;9(3):350–364.
มาลัย กมลสกุลชัย, พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกต. บทบาทและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรไทย. ประจวบคีรีขันธ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2559.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่8จังหวัดอุดรธานี. รายงานประเมินความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ โรคไข้หวัดใหญ่. อุดรธานี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
เยาวลักษณ์หอมวิเศษวงศา. ประสิทธิผลยาอมสมุนไพรมะขามป้อมในการลดอาการเจ็บคอเสียงแหบหลังการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อวางยาสลบ ว. วิชาการสาธารณสุข 2557;23(1):75–82.
สุภาพร ปิติพร. บันทึกของแผ่นดิน 1 หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว. กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์; 2555.
Zhong B. How to Calculate Sample Size in Randomized Controlled Trial?. Journal of Thoracic Disease 2009;1(1):51–4.
ทักษกร สิงหรัตนากร, วอนชนก ไชยสุนทร. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทาวน์เฮาส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลว. การบริหารและการจัดการ2561;8(2):211–226.
Lätti AM, Pekkanen J, Koskela HO. Defining the risk factors for acute, subacute and chronic cough: a cross sectional study in a Finnish adult employee population. BMJ Open 2018;8(10):6–1.
พิชามญชุ์หาญเจริญกิจ,สุมาลีเลิศมัลลิกาพร,วิลาวัณย์เตือนราษฎร. ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้สูงอายุในชุมชน. ว. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่2565;49(1):175–185.
ธานีกล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่2019 ว.การพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2563;21(2):29–38.
สัญญา สุปัญญาบุตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ว.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554;8(2):1–11.
ธานีชัยวัฒน์, นิชาภัทร ไม้งาม, ณัฎฐ์ศุภณ ดำชื่น, จารุวัฒน์เอมซ์บุตร, ปกรณ์สิทธิฐานา, ชนลักษณ์ ชัยศรีลักษณ์. เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมว่าด้วยเส้นทางชีวิตและกิจกรรมร่วมของครัวเรือนไทยภายใต้สถานการณ์COVID–19”. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2563.
World Health Organization. Influenza (Seasonal) [Internet]. [cited2018 Nov6]. Available from: https://www.who.int/news–room/fact–sheets/detail/influenza–(seasonal)
สัญญา สุปัญญา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น 2554; 18(2):1–11.
สมบูรณ์ทวีลาภ, วัลลีรัตน์พบคีรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาลของผู้สูงอายุอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. ใน: ธนาธิป สุ่มอิ่ม, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ“มศว วิจัย”ครั้งที่12; วันที่20 – 21 มีนาคม 2562; มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562. หน้า 740–751.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง