ประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ภาวะน้ำเกิน, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่มีประสบการณ์ของการมีภาวะน้ำเกิน ในช่วง ระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ที่มารับบริการที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 20 ราย โดยคัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกราย บุคคล สร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยตามเกณฑ์ของลินคอล์นและคูบา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ข้อค้นพบ ประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม จำแนกเป็น 4 ประเด็นหลัก 1) การให้ความหมายต่อภาวะน้ำเกินคือ ไตเสื่อม และบวม 2) การจัดการตนเอง ต่อภาวะน้ำเกินคือ การจำกัดน้ำดื่ม การรับประทานอาหาร การรับประทานยา และการจัดการตนเองด้านจิตใจ 3) ผล กระทบจากภาวะน้ำเกิน ด้านร่างกายคือ หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ และด้านจิตใจคือ กลัว/กังวล เบื่อหน่าย และความไม่แน่นอนของชีวิต 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำเกินคือ ตนเอง บุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแล
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยรายอื่น และใช้เป็นข้อมูลพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความตระหนักของผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและการ จัดการตนเอง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
References
ศุภดีวัน พิทักษ์แทน. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดปลูกถ่ายไต: กรณีศึกษา. ว. วิชาการแพทย์2562;33(3):589–600.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสถิติโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี2563–2565. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.
Liu Y, Wang L, Han X, Wang Y, Sun X, Jiang H, et al. The profile of Timing Dialysis Initiation in Patients with End–stage renal Disease in China: A Cohort Study. Kidney Blood Pressure Research 2020;45(2):180–93.
Wayunah W. Self–Efficacy and Compliance Fluid Intake Restriction as a Determinant of The Interdialytic Weight Gain (IDWG) Level. Journal of Nursing Care 2022;5(1):21–29.
รัตนา เสือสุ่ม และรัชนีนามชูจันทรา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว. พยาบาลสภากาชาดไทย 2562;11(2):188–203.
รุ่งรักษ์ ภิรมย์ลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(1):94–105.
Covic A, Siriopol D. Assessment and management of volume overload among patients on chronic dialysis. Current Vascular Pharmacology 2021;19(1):34–40.
Canaud B, Hornig C, Bowry S. Update and Perspectives in the Personalized Management of Sodium, Water, Volume and Hemodynamic Disorders of Dialysis Patients. Medical Research Archives 2022;10(6):1–12.
ชัชวาล วงค์สารีและจริยา กฤติยาวรรณ. การให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อบำบัดภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: บทบาทพยาบาลไตเทียม. ว. มฉก.วิชาการ 2560;21(41):137–150.
Perez LM, Biruete A, Wilund KR. Home–delivered meals as an adjuvant to improve volume overload and clinical outcomes in hemodialysis. Clinical Kidney Journal 2022;1–35.
สุภาพร ไชยวัฒนตระกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.ว.วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561;1(2):131–146.
Damas J, Fernandes V. Assessment of Fluid Status in Dialysis: Clinical Importance and Diagnostic Tools. Port J Nephrol Hypert 2022;36(2):115–120.
วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ และเพชรลดา จันทร์ศรี. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว. วิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2563;6(2):5–20.
พิมพ์พลอย มหานุภาพ, โรจนีจินตนาวัฒน์และพนิดา จันทโสภีพัน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว. สภาการพยาบาล 2565;37(1):108–124
ธนัยรัตน์ รุ้งพราย และ ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว. พยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย 2563;30(1):96–107.
อัญญา ปลดเปลื้อง. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23(2):1–10.
Lincoln YS, Guba EG. (1985). Naturalistic inquiry. New burg Park: Sage Publication; 1985.
วณิชา พึ่งชมภู. การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.
Zoccali C, Mallamaci F. Mapping progress in reducing cardiovascular risk with kidney disease: Managing volume overload. Clinical Journal of the American Society of Nephrology 2018;13(9):1432–1434.
Loutradis C, Sarafidis PA, Ferro CJ, Zoccali C. Volume overload in hemodialysis : diagnosis, cardiovascular consequences, and management. Nephrology Dialysis Transplantation 2021;36(12):2182–93.
ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, จุรีรัตน์กอเจริญยศ และอภิญญา กุลทะเล. ประสบการณ์และวิธีการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว. การพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563;1(2):42–61.
กรกฏ พร้อมสกุล และนลินียิ่งชาญกุล. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในคลินิกโรคไต อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ประเทศไทย. เชียงใหม่เวชสาร 2564;60(1):41–52
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง