การศึกษาผลโปรแกรมการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น โดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น, พลังใจวัยทีน, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การสร้างความเข้มแข็งทางใจ เป็นการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้วัยรุ่นมีความเข้มแข็งทางจิตใจ เกิด ความภูมิใจและรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ปรับตัวได้หากพบความผิดหวังหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับวัยรุ่นในการเติบโต และก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการ พัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น โดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือแบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง ในนักเรียนโรงเรียนสนมวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ โดย ใช้ระยะเวลา 3 วัน กลุ่มตัวอย่าง 69 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินความเข้มแข็งทางใจในเด็ก (Resilience Scale RS–48, 13–18 years) ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 13–15 ปี กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่นโดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน มีค่าความเข้มแข็งทางใจดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กรมสุขภาพจิต. WHO ระบุมีชาวโลกฆ่าตัวตายทุก 40 วินาที[อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี. 2562. [เข้าถึงเมื่อ15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news–dmh/view.asp?id=29944
ThaiPBS News.แนวโน้มความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูง [อินเตอร์เน็ต].2561[เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน2562]. เข้าถึงได้จาก: https://news.thaipbs.or.th/content/
กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน. นนทบุรี: บียอนด์พับลิสซิ่ง; 2562.
American Psychological Association. APA Dictionary of Psychology [Internet]. 2020 [Cited 2020 Feb 16]. Available from: https://dictionary.apa.org/resilience
Psychology today. What Creates Resilience [Internet]. 2020 [Cited 2020 Feb 16]. Available from: https://www.psychologytoday.com/intl/
basics/resilience
Grotberg EH. A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit [Internet]. 1995 [Cited 2019 Dec 1]. Available from: https://www.bibalex.org/Search4Dev/files/283337/115519.pdf
สุภาวดีนวลมณี. แบบวัดความเข้มแข็งทางใจในเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต; 2555.
Best Start: Ontario’s Maternal. Newborn and Early Child Development Resource Centre. Building Resilience in Young Children Booklet for parents of children from birth to six years [Internet]. 2020 [Cited 2020 Dec 1]. Available from: https://www.beststart.org/resources/
hlthy_chld_dev/pdf/BSRC_Resilience_English_fnl.pdf
Very well mind. What Is Resilience? [Internet]. 2020 [Cited 2020 Feb 16]. Available from: https://www.verywellmind.com/what–is–resilience–2795059
กานดา นาควารี, พัชรินทร์นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2558;29(2):46–63.
ทวีศักดิ์สิริรัตน์เรขา. อาร์คิว...ภูมิคุ้มกันทางใจ. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 4 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.happyhomeclinic.com/a21–RQ.htm5
เกณิกา จิรัชยาพร, ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของวัยรุ่นตอนต้น ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา.ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2558;29(3):113.–125.
Bissonnette M. Optimism, Hardiness,and Resiliency: A Review of theLiterature[Internet]. 1998[Cited2020 Feb16]. Availablefrom: https://corstone.org/wp–content/uploads/2015/05/Optimism–Hardiness–and–Resiliency–review.pdf
เยาวลักษณ์เตียวิลัย, ดุจเดือน พันธุมนาวิน, ดวงเดือน พันธุมนาวิน, งามตา วนินทานนท์. ปัจจัยเชิงเหตทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสื่อสารอย่างเคารพสิทธิผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ว. พฤติกรรมศาสตร์2017:24(2):21–41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง