การวิเคราะห์เวลารอคอยรับยาและความพึงพอใจของผู้รับบริการ ต่องานบริการเภสัชกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสงคราม
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, งานบริการเภสัชกรรม, ระยะเวลารอคอยรับยา, ผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
งานวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระยะเวลารอคอยรับยาและความพึงพอใจของผู้รับบริการ ต่องานบริการเภสัชกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสงคราม ซึ่งในปีงบประมาณ 2561–62 มีจำนวนผู้รับบริการ แผนกผู้ป่วยนอก 144,335 และ 148,733 ครั้ง เป็นจำนวนใบสั่งยา 86,211 และ 91,492 ใบ ตามลำดับ เก็บข้อมูล ระยะเวลารอคอยรับยา จากการลงบันทึกเวลาขั้นตอนการปฏิบัติงานในใบสั่งยา จำนวน 788 ใบ ข้อมูลความพึงพอใจ เก็บด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 จากผู้รับบริการจำนวน 380 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การสนทนากลุ่มบุคลากร จำนวน 7 คน โดยทำการศึกษาในช่วง 1-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.80 ช่วงอายุ 31 ถึง 60 ปี ร้อยละ 69.47 อาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 33.90 เป็นโรคเรื้อรัง ร้อยละ 61.60 เข้ารับบริการที่แผนกอายุรกรรม ร้อยละ 61.10 และสิทธิการ รักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 45.80 ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับไม่พึงพอใจ ส่วนด้านการ ให้ความเชื่อมั่นของเภสัชกร อยู่ในระดับประทับใจ โดยความคาดหวังของผู้มารับบริการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.82 ± 0.23 คะแนน ระยะเวลารอคอยรับยาเฉลี่ยเท่ากับ 50.74 ± 10.19 นาที ซึ่งนานกว่าเวลามาตรฐานคุณภาพ โรงพยาบาลที่กำหนดเวลาเฉลี่ย 20 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.0001) โดยระยะเวลารอคอยนานที่สุดใน ขั้นตอนการจัดยา เฉลี่ย 44.69 ± 9.67 นาที จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาระบบงานบริการเภสัชกรรม แผนก ผู้ป่วยนอก โดยใช้แนวทางที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้
References
ทัศนัย ประยูรหงษ์และไพบูลย์ดาวสดใส. การศึกษางานและออกแบบงาน ระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพิมาย นครราชสีมา. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน 2551;4(2):24–35.
ธิดา นิงสานนท์และคณะ. กรอบงานพื้นฐานระบบยา. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล; 2563.
กรแก้ว เมธีศิริวัฒน์และคัคนางค์ไชยศิริ. การพัฒนางานบริการห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[ปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
อินทิรา ช่อไชยกุล. ประสิทธิผลของระบบคิวจ่ายยาแยกประเภทตามกลุ่มห้องตรวจ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลลำปาง. ว. วิจัยพัฒนาระบบงานสาธารณสุขแพร่2562;9(8).
ใจรักษ์ยอดมงคล. การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการรอรับยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
Susanto AN, Chalidyanto D. Waiting time and satisfaction of outpatient in the pharmacysection.EurAsian Journal of BioSciences 2020;14(2):3263–3266.
ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
สุขใจ ปานทอง. การวิเคราะห์งานบริการเภสัชกรรมโรงพยาบาล: กรณีศึกษา ในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านไผ่ (ม.ป.ท). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
วิภาวีชาดิษฐ์. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพบริการแผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E–Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts 2560;10(1):161–177.
จุฑามาศ เรืองจุ้ย. การพัฒนางานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน [ปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.
เจริญศรีชินวรากร. การปรับลดระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. ว. วิชาการสาธารณสุข 2559;25(4):664–672.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง