ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ตรีวิจิตร มุ่งภู่กลาง โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์, ผลลัพธ์ของมารดาและทารก, ระบบส่งต่อ

บทคัดย่อ

        ระบบการส่งต่อเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้สตรีตั้งครรภเ์ ข้าถึงบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน ระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพนั้นมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ที่ดี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนครและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ทาง สูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งตัวมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 โดยศึกษาสตรีตั้งครรภ์ทุกรายที่ส่งต่อมาคลอดที่โรง พยาบาลสกลนคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยการทดสอบไคสแควร์ และอัตราความ เสี่ยง (odds ratio) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนครมีจำนวน 1,194 ราย ส่วนใหญ่อายุ 20–35 ปี (ร้อยละ 66.9) สาเหตุการส่งต่อมากที่สุด คือ ภาวะผิดสัดส่วนของอุ้งเชิงกรานมารดากับศีรษะทารก (ร้อยละ 21.1) และสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีภาวะโลหิตจางร่วมด้วยร้อยละ 20.6 สตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 43 คลอดทางช่องคลอด และร้อยละ 45.7 คลอดโดยการผ่าตัดคลอด การศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ไม่พบมารดาเสียชีวิต การเบ่ง คลอดนานเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารก (p = 0.016, odd ratio = 1.979 (95%CI, 1.128– 3.473) และการเคยผ่าตัดคลอดเป็นปัจจัยป้องกันต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารก (p = 0.028, odd ratio = 0.372 (95%CI, 0.149–0.930) จากการศึกษานี้แสดงถึงภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการ พัฒนาทักษะและความรู้ของทีมให้บริการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องจำเป็น รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการส่งต่อ เพื่อ ลดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ต่อไป

Author Biography

ตรีวิจิตร มุ่งภู่กลาง, โรงพยาบาลสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

References

World Health Organization. Child health [Internet]. 2011 [cited 2011 Aug 14]. Available from: https://www.who.int/health–topics/child–health#tab=tab_1

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาการตายของมารดาและทารก. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.

WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. Trends in maternal mortality: 2000 to 2017. Geneva: World Health Organization; 2019.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แก้ไขครั้งที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/kpitemplate2564

Rathnayake D, Clarke M. The effectiveness of different patient referral systems to shorten waiting times for elective surgeries: systematic review. BMC Health Serv Res 202;21(1):155.

ธีรารัตน์ พลราชม. คู่มือการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็ก (CPG) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/

dward/web/index.php?module=mc

ธีรารัตน์ พลราชม. ภาคผนวกแผนยุทธศาสตร์อนามัยแม่และเด็ก จังหวัดสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/dward/web/index.php?module=mc

Admon LK, Winkelman TN A, Heisler M, Dalton VK. Obstetric outcomes and delivery–related health care utilization and costs among pregnant women with multiple chronicconditions. Prev Chronic Dis 2018;15:E21.

Centers for Disease Control and Prevention. Pregnancy complication [Internet]. 2022 [Cited 2022 Jun 14]. Available from: https://www.cdc.gov/

reproductivehealth/maternalinfanthealth/pregnancy–complications.html

Khade SA, Pandya SP, Sarmalkar MS, et al. Fetomaternal Outcome in Referral Obstetric Patients in Tertiary Care Hospital. J South Asian Feder Obst Gynae 2021;13(4):207–211.

Kumari A, Mitra S, Aditya V. Spectrum of obstetric referral and their outcome at a Tertiary Care Center of Eastern Uttar Pradesh: An insight. Asian Journal of Medical Sciences 2022;13(4):123–8.

Jha N, Dutta I, Gopal N. A Study on Maternal and Perinatal Outcome in Referred Obstetric Cases of Gestational Age More Than 28 Weeks in a Rural Medical College Hospital. J South Asian Feder Obs Gynae 2018;10(4S1):302–309.

Sakhare AP, Thakare P. Outcome of caesarean delivery in rural obstetric referrals, 51st Conference AICOG; 2008.

Patel HC, Singh BB, Moitra M, Kantharia SL. Obstetric referrals: scenario at a primary health centre in Gujarat. Natl J Community Med 2012;3(4):711–4.

Kumari A, Mitra S, Aditya V. Spectrum of obstetric referral and their outcome at a Tertiary Care Center of Eastern Uttar Pradesh: An insight. Asian Journal of Medical Sciences 2020;13(4):123–128.

Jakhar R, Choudhary A. Study of maternal outcome in referral obstetric cases in a tertiary care centre. J Family Med Prim Care 2019;8(9):2814–2819.

Kapadia LD, Vohra H . Study of maternal and perinatal outcome of referred patients in tertiary health centre. IJRCOG 2017;6(12):5363–7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

How to Cite

1.
มุ่งภู่กลาง ต. ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนคร. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 25 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];25(3):1-12. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2753