ความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในการฉายรังสี แบบปรับความเข้มร่วมกับการใช้หน้ากากบริเวณอุ้งเชิงกราน
คำสำคัญ:
ความคลาดเคลื่อนของการจัดท่า, การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม, มะเร็งต่อมลูกหมากบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในการ ฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) ร่วมกับการใช้หน้ากากอุ้งเชิงกราน เพื่อหาค่า CTV to PTV margin ที่เหมาะ สมในโรงพยาบาลสกลนคร โดยนำข้อมูลย้อนหลังของค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ เข้ารักษาด้วยเทคนิค IMRT ร่วมกับการใช้หน้ากากอุ้งเชิงกรานในขั้นตอนการตรวจสอบตำแหน่งการฉายรังสี โดยการ เปรียบเทียบภาพ EPID และภาพ DRRs ในท่าตรงและท่าด้านข้าง นำค่าดังกล่าวคำนวณหาค่า CTV to PTV margin จากสมการของ Van Herk จากผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 41 ราย ประกอบด้วย ภาพ EPID จำนวน 574 ภาพ และภาพ DRRs จำนวน 82 ภาพ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าในแนวศีรษะปลายเท้าแนวซ้ายขวาและแนวหน้าหลังมีค่า อยู่ในช่วง –0.6 ถึง 0.9 ซม. –0.6 ถึง 0.6 ซม. และ –0.7 ถึง 0.4 ซม. ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัด ท่าเฉลี่ยคู่กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในแนวศีรษะปลายเท้าแนวซ้ายขวาและแนวหน้าหลังมีค่าเท่ากับ 0.08 ± 0.26, 0.00 ± 0.17 และ –0.03 ± 0.16 ซม. ตามลำดับ ค่ามัธยฐานคู่กับพิสัยควอไทล์มีค่าเท่ากับ 0.0 ± 0.2 ซม. ทั้ง 3 แนว ค่า CTV to PTV margin ในแนวศีรษะปลายเท้าแนวซ้ายขวาและแนวหน้าหลังมีค่าเท่ากับ 0.47, 0.24 และ 0.21 ซม. ตามลำดับ สรุปค่าความคลาดเคลือ่ นจากการจัดท่าผ้ปู ่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในการฉายด้วยเทคนิค IMRT ร่วมกับการใช้หน้ากากอุ้งเชิงกรานทั้ง 3 แนวมีค่าอยู่ระหว่าง –0.7 ถึง 0.9 ซม. และค่า CTV to PTV margin อยู่ ในช่วงที่แนะนำโดย ICRU No.62
References
กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Control Programme (พ.ศ. 2561–2565) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง
แห่งชาติ.pdf
แผนกตรวจสุขภาพโรงพยาบาลเปาโล พระประแดง. 5 อันดับ สถิติมะเร็งในคนไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th–TH/phrapradaeng/Article/Details/บทความ–โรคมะเร็ง/5–อันดับ–สถิติมะเร็งในคนไทย–ที่ควรดูแลตนเองให้ห่างไกล
หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายของสุขภาพเพศชาย. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/sites/default/files/public/pdf/Booklet/
Booklet–Prostate–Cancer.pdf
Saad A, Goldstein J, Lawrence Y, Spieler B, Leibowitz–Amit R, Berger R, et al. Classifying high–risk versus very high–risk prostate cancer: Is it relevant to outcomes of conformal radiotherapy and androgen deprivation?. Radiat Oncol 2017;12:1–8.
Arias–Stella J, Shah A, Montoya–Cerrillo D, Williamson S, Gupta N. Prostate Biopsy and Radical Prostatectomy Gleason Score Correlation in Heterogenous Tumors: Proposal for a Compoite Gleason Score. AJSP 2015;39:1213–8.
American Joint Committee on Cancer. AJCC Cancer Staging Manual. 6th ed. New york: Lippincott Raven; 2002.
Bhardwaj AK, Kehwar TS, Chakarvarti SK, Oinam AS, Sharma SC. 3–Dimensional conformal radiotherapy versus intensity–modulated radiotherapy for localized prostate cancer: Dosimetric and radiobiologic analysis. Int J Radiat Res 2007;5(1):1–8
ศิวลี สุริยาปี, ทวีป แสงแห่งธรรม, พันทิวา อุณห์ศิริ. ฟิสิกส์ทางรังสีรักษา (Physics of Radiotherapy). กรุงเทพฯ: Ideol Digital; 2563.
International Commission on Radiation Units and Measurements. ICRU Report 62: Prescribing recording and Reporting Photon Beam Therapy (Supplement to ICRU Report 50). USA: ICRU; 1999.
Malone S, Szanto J, Perry G, Gerig L, Manion S, Dahrouge S, Crook J. A prospective comparison of three systems of patient immobilization for prostate radiotherapy. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2000;48(3):657–65.
Virkar M, Kumar N A, Chadha P, Rodrigues RJ. Vacuum and thermoplastic mould–base immobilization systems used in patient undergoing pelvis radiation therapy: A comparative study. IJCBR 2020;6(1):8–10.
Yamane, Taro. Statistics: An introductory analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row; 1967.
White P, Yee CK, Shan LC, Chung LW, Man NH, Cheung YS. A comparison of two systems of patient immobilization for prostate radiotherapy. Radiat Oncol 2014;9:29.
Herk MV, Remeijer P, Rasch C, Lebesque JV. The probability of correct target dosage: dose–population histograms for deriving treatment margins in radiotherapy. Int J Radiat Oncol Biol Phy 2000;47(4):1121–35.
วิมลมาศ ทองงาม, สุมาลี ยับสันเทียะ : การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยอุปกรณ์ยึดตรึงสามชนิดในเทคนิคการฉายแบบปรับความเข้ม. J Thai Assos Radiat Oncol 2021;2:102–15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง