การศึกษาการให้การระงับความรู้สึกแบบการให้หลับสงบด้วยเคตามีน–โปรโพฟอล สำหรับหัตถการการจัดกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบปิดให้เข้าที่

ผู้แต่ง

  • ธัชพล จันทธำรงวัฒน์ โรงพยาบาลสกลนคร
  • โชติมา อภิวัฒน์ชัชวาล โรงพยาบาลสกลนคร
  • พัชริดา นพศรี โรงพยาบาลสกลนคร
  • สุภาลักษ์ ทิพย์โยธา โรงพยาบาลสกลนคร
  • กรรณิกา อินทะรังสี โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

เคตามีน, โปรโพฟอล, การให้การระงับความรู้สึกแบบหลับสงบ, การจัดกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบปิดให้เข้าที่

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทำหัตถการการจัดกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบ ปิดให้เข้าที่ภายใต้การระงับความรู้สึกแบบหลับสงบด้วยเคตามีน–โปรโพฟอล รวมทั้งการฟื้นตัวและภาวะแทรกซ้อน ประชากร อายุตั้งแต่ 3–70 ปี จำนวน 90 คน เป็นผู้ป่วยกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบปิดและทำหัตถการจัด กระดูกหักให้เข้าที่ที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร โดยได้รับยาเฟนทานิล 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ยาเคตามีน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและโปรโพฟอล 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จับเวลาตั้งแต่ได้รับยาครบจนจัดกระดูกสำเร็จ การรู้ตัว การฟื้นตัว และการออกจากห้องพักฟื้นได้

            ผลการศึกษาพบว่า แพทย์เฉพาะทางออโธปิดิกส์สามารถจัดกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบปิดได้ส????ำเร็จ โดยการจัดแนวกระดูกให้เข้าที่ภายใต้การระงับความรู้สึกแบบหลับสงบ จำนวน 90 ราย (ร้อยละ 100) ระยะเวลาเฉลี่ย การทำหัตถการจัดกระดูกได้สำเร็จ 3 นาที ผู้ป่วยตื่นและสามารถทำตามสั่งได้ 11.14 นาที การจำหน่ายผู้ป่วยออก จากห้องพักฟื้น 31.67 นาที ในระหว่างการทำหัตถการผู้ป่วยสามารถหายใจได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องการการช่วย หายใจ ร้อยละ 100 และสามารถทำหัตถการการจัดกระดูกได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสามารถปลุกตื่นได้โดย ง่าย สามารถหายใจได้เองอย่างเพียงพอ ฟื้นรู้สึกตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีความเจ็บปวด โดยที่สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนเพียงอย่างเดียว คือ อาการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาและไม่มีอาการซ้ำ อีก 3 ราย (ร้อยละ 3.33)

             สรุป การให้การระงับความรู้สึกแบบหลับสงบด้วยเคตามีนร่วมกับโปรโพฟอล มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพียงพอสำหรับให้การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่เข้ารับการจัดกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบปิดให้เข้าที่ มีความ ปลอดภัยและผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

Author Biographies

ธัชพล จันทธำรงวัฒน์, โรงพยาบาลสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการ วิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

โชติมา อภิวัฒน์ชัชวาล, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

พัชริดา นพศรี, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

สุภาลักษ์ ทิพย์โยธา, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

กรรณิกา อินทะรังสี, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

References

Armornyotin S. Anesthesia Innovations for Endoscopy of Gastrointestinal Tract. In: Amornyotin S, editors. Endoscopy–Innovative Uses and Emerging Technologies; 2015. p. 39–61

Amornyotin S. Sedation and monitoring for gastrointestinal endoscopy. World J Gastrointest Endosc 2013;5(2):47–55.

Amornyotin S. Sedative and analgesic drugs for gastrointestinal endoscopic procedure. J Gas troenterol Hepatol Res 2014;3(7):1133–44.

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยาสาขาวิสัญญีวิทยา และการระงับการปวด. General anesthetics: Anticholinesterases and antimuscarinic druge Used in anesthesia. ใน: วรสุดา ยูงทอง, อัญชลี จิตรักนที, วรรณนิษา เถียรทวี, นิพัทธ์ สุขแสนสำราญ, จุฑาทิพ เลาหเรืองชัยยศ, ธนิศา ทาทอง, และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาที่ใช้ทางวิสัญญีวิทยาและการระงับปวด Thai

National Formulary 2015 of Anesthetics and Pain Medication. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา; 2560. หน้า 37.

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยาสาขาวิสัญญีวิทยา และการระงับการปวด. General anesthetics: Muscle relaxants (Neuromuscular Blocking drugs. ใน: วรสุดา ยูงทอง, อัญชลี จิตรักนที, วรรณนิษา เถียรทวี, นิพัทธ์ สุขแสนสำราญ, จุฑาทิพ เลาหเรืองชัยยศ, ธนิศา ทาทอง, และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาที่ใช้ทางวิสัญญีวิทยาและการระงับปวด Thai National Formulary 2015 of Anesthetics and Pain Medication. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2560. หน้า 13.

Amornyotin S. Ketofol: a combination of ketamine and propofol. Journal of Anesthesia & Critical Care: Open Access 2014;1(5):00031.

Willman EV, Andolfatto G. A prospective evaluation of “ketofol” (ketamine/propofol combination) for procedural sedation and analgesia in the emergency department. Ann Emerg Med 2007;49(1):23–30.

Fiset P, Paus T, Daloze T, Plourde G, Meuret P, Bonhomme V, et al. Brain mechanisms of propofol–induced loss of consciousness in humans: a positron emission tomographic study. J Neurosci 1999;19(13):5506–13.

Gupta A, Steirer T, Zuckerman R, Sakima N, Parker SD, Fleisher LA. Comparison of recovery profile after ambulatory anesthesia with propofol, isoflurane, sevoflurane and desflurane: a systemic review. Anesth Analg 2004;98(3):632–41.

Amornyotin S, Suraseranivongse S, Muangman S, Sattawathamrong Y, Tensit K, Prakotsue K, et al. Comparison of dose requirement of diluted and undiluted propofol for patients undergoing ERCP. Thai J Anesthesiol 2003;29(1):6–12

Sharieff GQ, Trocinski DR, Kanegaye JT, Fiser B, Harley JR. Ketamine–Propofol Combination Sedation for Fracture Reduction in the Pediatric Emergency Department. Pediatric Emergency Care 2007;23(12):881–4.

McKenna P, Leonard M, Connolly P, Boran S, McCormack D. A Comparison of Pediatric Forearm Fracture Reduction Between Conscious Sedation and General Anesthesia. Orthop Trauma 2012;26(9):550–5.

Chan MK, Cawthorne DP, St George JE, Little DG. Closed reduction of paediatric forearm fracutres: nitrous oxide versus general anaesthetic. ANZ J Surg 2020;90(11):2232–2236.

Daniel WW. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.

Maurer WG, Walsh M, Viazis N. Basic requirements for monitoring sedated patients: blood pressure, pulse oximetry, and EKG. Digestion 2010;82(2):87–9.

Charuluxananan S, Saengchote W, Klanarong S, Punjasawadwong Y, Chau–in W, Lawthaweesawat C, et al. Quality and patient safety in anesthesia service: Thai survey. Asian Biomed 2010;4(3):395–401.

Charuluxananan S, Roadanant O, Charoenraj P, Somboonviboon W, kyokong O. Survey of knowledge and opinions concerning qulaity in anesthesia service among Thai anesthesia personnel. Thai J Anesthesiol 2002;28:225–35.

American Society of Anesthesiologists Task Force on Sedation and Analgesia by Non–Anesthesiologists. Practice guidelines for sedation and analgesia by non–anesthesiologists. Anesthesiology 2002;96(4):1004–17.

Chernik DA, Gllings D, Laine H, Hendler J, Silver JM, Davidson AB, et al. Validity and reliability of the observer’s Assessment of Alertness/Sedation scale: study with intravenous midazolam. J Clin Psychopharmacol 1991;10(4):244–51.

Aldrete JA. The Postanesthesia recovery score revisited. J Clin Anesth 1995;7(1):89–91.

Chung F. Are discharge criteria changing?. J Clin Anesth 1993;5(6 Suppl 1):64S–68S.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

How to Cite

1.
จันทธำรงวัฒน์ ธ, อภิวัฒน์ชัชวาล โ, นพศรี พ, ทิพย์โยธา ส, อินทะรังสี ก. การศึกษาการให้การระงับความรู้สึกแบบการให้หลับสงบด้วยเคตามีน–โปรโพฟอล สำหรับหัตถการการจัดกระดูกแขนและขาส่วนปลายหักแบบปิดให้เข้าที่. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 25 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];25(3):36-42. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2756