พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ไม่ได้รักษาด้วยการฟอกไตระยะที่ 1–4 ในตำบลโพธิ์ ตำบลหนองแก้ว ตำบลโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ไม่, ได้รักษาด้วยการฟอกไตระยะที่ 1–4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการจัดการตนเองและความสามารถในการประกอบ กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ไม่ได้รักษาด้วยการฟอกไตระยะที่ 1–4 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคล พฤติกรรมการจัดการตนเองและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในเขต ตำบลโพธิ์ ตำบลโพนเขวา ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 86 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคได้เท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค สแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ค่าเฉลี่ย 1.93 (S.D. = 0.25) ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 69 คน (ร้อยละ 80.2) ต้องการ พึ่งพิงผู้อื่นเพียงเล็กน้อย ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการ ตนเองของกลุ่มตัวอย่างและปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สิทธิ การรักษา และระยะของโรคไตไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่าง จากผลการศึกษา จึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการ ตนเองที่ดีขึ้นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. ว. กรมการแพทย์ 2558;5(5):5–18.
Nephrology Society of Thailand. Guidelines for kidney diseases. Bangkok: BNS Advance; 2016. (in Thai).
Hamler TC , Miller VJ, Petrakovitz S. Chronic kidney disease and older African American adults: How embodiment influences self–management. Geriatrics 2018;3(3):52.
สุนิสา สีผม. การจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. ว. สภากาชาดไทย 2556;6(1):12–17.
จินตนา กิ่งแก้ว. ภาวะทุพโภชนาการและบทบาทพยาบาลในการส่งเสริมโภชนาการของผู้ป่วยซีเอพีดี. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2559;19(1):220–228.
Edemekong PF, Bomgaars DL, Sukumaran S, Levy SB. Activities of Daily Living. Stat Pearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing ; 2021.
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, และคณะ. ปัญหาการใช้ยาและปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุชุมชนบ้านมะกอก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555;ฉบับพิเศษ:803–812.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การวิจัยทางสาธารณสุข: จากหลักการสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.
Mahoney FL, Barthel DW. Functional evaluation: The Barthel Index. Maryland state medical Journal 1965;14(1):56–61.
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. แนวทางการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร; 2562.
วิภาวรรณ อะสงค์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
Best JW. Research in education. Englewood Cilifts. New Jersy: Printice–Hall; 1970.
ศิริวรรณ พายพัตรและคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. ว. การพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2564;3(2):22–36.
จิรังกูร ณัฐรังสี, สุนิตา ไชยมี, สุวนันท์ จังจิตร, สุภาวินี สุภะพินิ, สุปรียา โพธิ์อุดม. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและความสุขของผู้สูงอายุชุมชนทุ่งขนุนน้อยอุบลราชธานี. ว. ราชธานี นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;2(1):50–60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง