การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศงานการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดสมรรถนะพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศงานการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมี บำบัด โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี และเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะของพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้นิเทศ จำนวน 8 คน และพยาบาลผู้รับการนิเทศ จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระยะวางแผน เป็นการวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการนิเทศ งานการพยาบาลร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ 2) ระยะปฏิบัติการ ดำเนินการตามรูปแบบการนิเทศ 3) ระยะการสังเกต สังเกตและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ และ 4) ระยะการสะท้อนกลับ ให้ข้อมูล ย้อนกลับและเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะของพยาบาล ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ เครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และหาความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ ค่าเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired sample t–test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการนิเทศงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อ ความปลอดภัย 2) ข้อตกลงการนิเทศและการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการนิเทศ 3) การดำเนินการนิเทศ เพื่อพัฒนา ความรู้และทักษะทางวิชาชีพ 4) การสะท้อนกลับข้อมูล และ 5) การสนับสนุนให้กำลังใจ
2. ภายหลังการใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น พบว่า พยาบาลผู้รับการนิเทศมีคะแนนสมรรถนะการพยาบาล ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( = 4.25, S.D. = 0.30 และ
= 3.22, S.D. = 0.25 ตามลำดับ, t = 13.05, df = 29, p = 0.000)
References
มหาวิทยาลัยมหิดล. บทความศิริราชให้ความรู้เนื่องในวันมะเร็งโลกประจำปี 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564 ]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnewsdetail.asp?hn_id=2509
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. ทำความรู้จักกับยาเคมีบำบัด บทความวิชาการ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม2564]. เข้าถึงได้จาก: http://thethaicancer.com/Webdocument/People_article/People_article_002.html
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. คู่มือมาตรฐานการทำงานเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดและการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยา. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2560.
โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. รายงานการประจำปี 2562 [เอกสารอัดสำเนา]. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2563.
สภาการพยาบาล. หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (หลักสูตรฟื้นฟู10 วัน) [อัดสำเนา]. นนทบุรี: สภาการพยาบาล; 2559.
วรรณชนก จันทชุมและคณะ. การพัฒนารูปแบบการสอนงานในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;43(2);115–125.
นุจรี สันติสำราญวิไล และสุชาดา รัชชุกูล. การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด ใน โรงพยาบาลสังกัดรัฐ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
กิ่งกาญจน์ ทรัพย์เย็น, กนกทอง จาตุรงคโชค และกฤตยา ตันติวรสกุล. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. ว. การแพทย์ 4–5 2562;38(4):300–317.
Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In Cutcliffe JR, Butterworth T, Proctor B. Fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี. สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561.
จีรวรรณ์ ศิริมนตรี. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการนิเทศทางคลินิก การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(2);1–12.
กองการพยาบาล. การควบคุมคุณภาพการพยาบาล เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.
สุพิศ กิตติรัชดา และวารี วนิชปัญจพล. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพการนิเทศการพยาบาล Nursing supervision. กรุงเทพฯ: สยามเจริญพานิชย์; 2551.
วารี วณิชปัญจพล. การนิเทศทางการพยาบาลหลักสูตรการบริการพยาบาลแนวใหม่. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2547.
Brunero S, Stein–Parbury J. The effectiveness of clinical supervision in nursing: an evidenced based literature review. Australian Journal of Advanced Nursing 2008;25(3):86–94.
The Victorian Government. Clinical supervision for mental health nurses: A framework of Victoria. Metro printing. Melbourne: Metro Printing, Airport West; 2018.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการสถาบันบรมราชนก; 2552.
Driscoll J. Practicing Clinical Supervision: 2nd ed. Brisbane: Wiley–Blackwell; 2007.
มธุรส ตันติเวสส, อารี ขำอยู่ และประนอม โอทกานนท์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลสำหรับผู้ตรวจการณ์พยาบาลนอกเวลาราชการโรงพยาบาลสงฆ์. ว. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;25(3);41–51.
ดารินทร์ ลิ้มตระกูล. การพัฒนารูปแบบนิเทศการพยาบาลวิสัญญีเพื่อมาตรฐานและคุณภาพบริการ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2562;4(1):e0056.
รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์, รัชตวรรณ ศรีตระกูล, สมปรารถนา ดาผา, อนุสรณ์ ช้างมิ่ง, ปิยวะดี ลีฬหะบำรุงและอมรรัตน์ นาคละมัย. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูงโดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลผู้นิเทศทุกระดับ โรงพยาบาลนครปฐม. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
;36(1):234–243.
ณัฐฐา หอมนาน และวาสินี วิเศษฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์สำหรับพยาบาล. ว. พยาบาลทหาบก 2560;18(ฉบับพิเศษ):140–148.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง