การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงในผู้ใหญ่ โดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • บงกฎ ปัจสา โรงพยาบาลสกลนคร
  • ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม
  • อรอุมา แก้วเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรง, FASTHUG, SAR

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรงและ ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรง โดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ในหอ ผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน และผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรง จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนสิงหาคม–ตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งตรวจสอบความ ตรงของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน FASTHUG และ SAR และแบบประเมิน ความพึงพอใจของพยาบาล ทดสอบด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.74 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์แก่นสาระ

               ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรงโดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ประกอบด้วย การให้อาหาร (feeding, F) การดูแลจัดการความปวด (analgesia, A) การควบคุมระบบประสาท (sedation, S) การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (thromboembolic prevention, T) การจัดท่านอน ให้ศีรษะสูงมากกว่า 30 องศา (head of the bed elevated, H) การป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากภาวะน้ำตาลในเลือด (glucose control, G) การหย่าเครื่องช่วย หายใจ (spontaneous weaning trail, S) การป้องกันถุงลมปอด และการฟื้นฟูสภาพปอด (aggressive alveolar maintenance, A) และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล (rational use of antibiotics, R) ความพึงพอใจเฉลี่ย ของพยาบาลหลังใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.57, S.D. = 4.32)

Author Biographies

บงกฎ ปัจสา, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร

ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อรอุมา แก้วเกิด, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

References

Metlay JP, Waterer GW, Long AC, Anzueto A, Brozek J, Crothers K, et al. Diagnosis and Treatment of Adults with Community–acquired Pneumonia. On behalf of the American Thoracic Society and Infectious Diseases Society of America. Am J Respir Crit Care Med

;200(7):e45–e67.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กองการพยาบาล.มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, สำนักการพยาบาล; 2563

Vincent JL. Give your patient a fast hug (at least) once a day. Crit Care Med 2005;33(6):1225–9.

ปัญญา เถื่อนด้วง, นาตยา คำสว่าง และรัฐภูมิ ชามพูนท. เกณฑ์วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning Protocol). ว. เวชบำบัดวิกฤต โดยสมาคมเวชบำบัดแห่งประเทศไทย 2555;20(2):8–11.

ธารทิพย์ วิเศษธาร, กัญจนา ปุกคำ และสมจิตร์ ยอดระบำ. การพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. ว. พยาบาลโรคหัวใจและทรวง 2562;30(2):176–192.

สุพัตรา อุปนิสากร และจารุวรรณ บุญรัตน์ การดูแลผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม: การประยุกต์แนวคิด FASTHUG และ BANDAIDS. ว. สภาการพยาบาล 2557;29(3):19–30.

Saeed F, Lasrado S. Extubation [Internet]. 2022 [Cited 2022 Dec 17]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539804/

กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์. เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator). ใน: กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, บรรณาธิการ. เวชบำบัดวิกฤตศัลยศาสตร์ ในเวชปฏิบัติ Surgical Critical Care in Practice. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560

Ciesla ND. Chest physical therapy for patients in the intensive care unit. Phys Ther 1996;76(6):609–25.

Kourkouta L, Kotsiftopoulos CH, Papageorgiou M, Iliadis CH, T Monios A. The Rational Use of Antibiotics Medicine. J Healthc Commun 2017;2(3):36.

Waterer GW, Long AC, Anzueto A, Brozek J, Crothers K, et al. Diagnosis and Treatment of Adults with Community–acquired Pneumonia. An Official Clinical Practice Guideline of the American Thoracic Society and Infectious Diseases Society of America. Am J Respir

Crit Care Med 2019;200(7):795–p15.

โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร. ฐานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร ปีงบประมาณ 2562–2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sknhospital.go.th/Nurseskh/Home_SKH.asp

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University;1998.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175–91.

ภัทรธิรา ผลงาม. การเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tuct.ac.th/km/

article/stat_1.pdf

ลักษณา จันทราโยธากร, กัญจน์ชยารัตน์ อุดคำมี. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย ต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านความปลอดภัยในการผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่. ว. โรงพยาบาลแพร่ 2564;29(1):28–38.

กัญจนา ปุกคำ, ธารทิพย์ วิเศษธาร. ศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โดยใช้ แนวทาง FAST HUG. ว. วิชาการสาธารณสุข 2559;25(1):116–127.

วิราวรรณ เมืองอินทร์, บุษบา อัครวนสกุล, มยุรี พรมรินทร์, มยุรฉัตร ด้วงนคร, นงเยาว์ มงคลอิทธิเวช. ศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโดยใช้แนวคิด FASTHUG ในหอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. พยาบาลสาร 2564;48(4):308–323.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

How to Cite

1.
ปัจสา บ, พรหมสาขา ณ สกลนคร ณ, แก้วเกิด อ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงในผู้ใหญ่ โดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 25 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];25(3):85-98. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2760