ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ นาคะอินทร์ โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

เชื้อโควิด-19, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

ารศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนก อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 31 คน ที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 ที่มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.83 ดำเนินการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองระหว่าง เดือน พฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยง เบนมาตรฐาน

               ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.59, S.D. = 0.71) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ให้กลับบ้าน ( gif.latex?\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.64) รองลงมาคือ ด้านการพยาบาลผู้ป่วยในห้อง negative pressure (gif.latex?\bar{x} = 4.59, S.D. = 0.78) และด้าน การปฏิบัติด้านการพยาบาลจุดคัดกรอง (gif.latex?\bar{x} = 4.55, S.D. = 0.66) ตามลำดับ พยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมต่อ การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.00, S.D. = 0.58) และอัตราการติดเชื้อ โรคโควิด 19 จากการปฏิบัติงานของพยาบาลก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 เท่ากับร้อยละ 29.0 แต่ไม่พบการติดเชื้อโรคโควิด 19 หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ในแผนกอื่นต่อไป    

Author Biography

พัชรินทร์ นาคะอินทร์, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

References

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์. ข้อเสนอการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดจากโรคระบาดรุนแรง บทเรียนจากการบริหารจัดการแพทย์ฉุกเฉินของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID–19 ในประเทศไทย. ว. การแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2565;2(1):90–97.

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมการแพทย์เรื่อง แนวทางการจัดบริการผู้ป่วยสำหรับสถานพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ30 กันยายน2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=179

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID–19) ฉบับปรับปรุงวันที่29 กันยายน 2565 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/

backend/Content/ Content_File/Covid_Health/Attach/25650929131357PM_CPG_COVID–19_v.25_n_20220929.pdf

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประกอบการจัดทำแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับสถานพยาบาลกรณีโรคติดเชื้ออุบัติใหม่(Business ContinuityPlan for EmergingInfectious Diseasein Healthcare Facilities. นนทบุรี: มูลนิธิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

โรงพยาบาลสกลนคร. แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลสกลนคร เรื่อง การตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 และการแยกกักผู้ป่วย(Isolation) ในช่วงเข้าสู่ระยะโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับปรับปรุง1 ตุลาคม 2565). สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2565.

นิพิฐพนธ์สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER SAMPLE SIZE CALCULATION USING G*POWER PROGRAM. ว. วิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ2562;5(1):496–507.

Polit DF, Hungler BP. Nursing research: Principles and methods. 4th ed. Philadelphia: J.B. Lippincott; 1995.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2549.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พรี–วัน; 2554.

วรภรณ์สมดี. การพัฒนาแนวทางการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID–19 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม. ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2564;19(2):68–79.

ธัญพร จรุงจิตร. ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolation โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. ว. วิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก 2565;2(2):16–29

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

How to Cite

1.
นาคะอินทร์ พ. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 25 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];25(3):99-109. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2761