การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม
คำสำคัญ:
รูปแบบการฟื้นฟู, การทรงตัว, การหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบประเมิน Mini–BES Test ประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นและเปรียบเทียบผลลัพธ์ความสามารถ ในการทรงตัวก่อนและหลังการใช้รูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 80 คน ศึกษาระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน ถึง 15 ตุลาคม 2565 ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ รูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สมรรถนะทางกาย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่า content validity index ได้เท่ากับ 0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ สถิติ เปรียบเทียบแบบกลุ่มเดียววัดก่อน–หลังการทดลอง และสถิติเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนใช้รูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัว กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับ ความสามารถด้านการทรงตัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่พบว่า หลังใช้รูปแบบการฟื้นฟู ความสามารถในการทรงตัว มีระดับความสามารถด้านการทรงตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และผลการเปรียบเทียบระดับความสามารถด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษาพบว่า ระดับความสามารถด้านการทรงตัวหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) การวิจัยชี้ให้เห็นว่ารูป แบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มของผสูู้งอายุที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุได้
References
World Health Organization [WHO]. WHO global report on falls prevention in older Age. Geneva; 2007.
United Nations. World Population Ageing 2017 Highlights [Internet]. 2017 [Cited 2022 March 12]. Availablefrom: http://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/ WPA2017 Highlights.pdf
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.สังคมสูงวัยใส่ใจพลัดตกหกล้ม [Internet]. 2564 [Cited 2022 March 12]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1157520210624083452.pdf
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์.แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (GeriatricSyndrome). กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ, ชวนนท์อิ่มอาบ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. ว. แพทย์เขต 4–5 2562;38(4):288–298.
สมลักษณ์เพียรมานะกิจ, พัชรินทร์พุทธรักษา, สุพิน สาลิกา, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภออัมพวา. ว. กายภาพบำบัด 2560;2:52–62.
ยุภาภรณ์ รัตนวิจิตร และคณะ.แบบประเมินการทรงตัว Mini–BESTest ฉบับภาษาไทย: การแปลพร้อมกับการศึกษาความเที่ยงของผู้ประเมินและความตรงเชิงสภาพของแบบประเมินในผู้สูงอายุ. ว. กายภาพบำบัด 2563;42(3):174–85.
Polit DF, Beck CT. Nursing research: Principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.
กาญจนา พิบูลย์, ไพบูลย์พงษ์แสงพันธ์, พวงทอง อินใจ, มยุรีพิทักษ์ศิลป์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3675
จุฑาทิพย์รอดสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. ว. ศูนย์อนามัยที่9 2564;15(38):541–60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง