ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด ที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำและการกลับมาเสพซ้ำ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ หอมเพชร โรงพยาบาลสกลนคร
  • พิศมัย กองทรัพย์ โรงพยาบาลสกลนคร
  • น้องนุช แสนบรรดิษฐ์ โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

การวางแผนจำหน่าย, เมทแอมเฟตามีน, มารดาหลังคลอด, โรงพยาบาลตติยภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการแผนจำหน่ายมารดา หลังคลอดที่ใช้เมทแอมเฟตามีนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วัน หลังจำหน่าย และการกลับมาเสพสารเสพติดซ้ำภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดใช้เมท แอมเฟตามีน มาคลอดในโรงพยาบาลสกลนครเดือนตุลาคม 2564–กันยายน 2565 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่ม ควบคุม กลุ่มละ 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบไคสแควร์

              ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด (gif.latex?\bar{x} = 19.43, S.D. = 1.11) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (gif.latex?\bar{x}  = 17.17, S.D. = 1.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมในการดูแลตนเองในกลุ่มทดลอง ( gif.latex?\bar{x} = 3.76, S.D. = 0.94) และกลุ่มควบคุม
(gif.latex?\bar{x} = 3.51, S.D. = 1.04) อยู่ในระดับมาก 3) กลุ่มทดลองไม่มีการกลับมารักษาช้ำภายใน 28 วัน กลุ่มควบคุมกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน 1 ราย 4) กลุ่มทดลองมีการกลับมาเสพช้ำภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด 1 ครั้ง ขณะที่กลุ่มควบคุมกลับมาเสพซ้ำ ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด 7 ครั้ง ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จึงควรนำรูปแบบการวางแผน จำหน่ายมารดาหลังคลอดนี้ไปปรับใช้และศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดทุกชนิดเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิง ตั้งครรภ์มีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ลดผลกระทบต่อมารดาและทารกแรกเกิด ลดการกลับมา เสพสารเสพติดซ้ำ และได้รับการบำบัดรักษาตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

Author Biographies

พรทิพย์ หอมเพชร, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยด้านสูติ–นรีเวช โรงพยาบาลสกลนคร

พิศมัย กองทรัพย์, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยด้านสูติ–นรีเวช โรงพยาบาลสกลนคร

น้องนุช แสนบรรดิษฐ์, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยด้านสูติ–นรีเวช โรงพยาบาลสกลนคร

References

United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC).Synthetic Drugs in East and Southeast Asia Latest Developments and Challenges 2021 [Internet]. 2021 [Cited 2022 Dec 25]. Available from: https://www.unodc.org/roseap/uploads/documents/Publications/2021/ Synthetic_Drugs

_in_East_and_Southeast_Asia_2021.pdf

ASEAN–NARCO ASEAN Narcotics Cooperation Center. ASEAN DRUG MONITORING REPORT 2020 [Internet]. 2021 [Cited 2022 Dec 25]. Available from: https://asean.org/wp–content/uploads/2022/03/ADM–Report–2020_2021Nov02.pdf

Cunningham FG, Lenovo JK, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, et al. Williams Obstetrics. 25th ed. New York: McGraw–Hill; 2018.

National Institute on Drug Abuse. Methamphetamine2019[Internet]. [Cited 2022 December 25]. Available from: https://www.drugabuse.gov/

publications/research–reports/methamphetamine/overview

จุฑารัตน์ ชัยวีรพันธ์เดช และ สิวิลักษณ์กาญจนบัตร. ผลกระทบต่อทารกจากมารดาที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนก่อนคลอด [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช; 2560.

อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์. ว. โรงพยาบาลมหาสารคาม 2564;18(2):105–112.

Wright TE, Schuetter R, Tellei J, Sauvage L. Methamptamines and pregnancy outcomes. J Addict Med 2015;2018;9(2):111–7.

Jia–Hao Li, Jia–Li Liu, Kai–Kai Zhang, Li–Jian Chen, Jing–Tao Xu, and Xiao–Li Xie. The Adverse Effects of Prenatal METH Exposure on the Offspring: A Review [Internet]. [Cited 2021 July 14]. Available from: https://doi.org/10.3389/fphar.2021.715176

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพงานแผนกสูตินรีเวชกรรรม. แบบประเมินตนเองแผนกสูตินรีเวชกรรมโรงพยาบาลสกลนคร ปี2565. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2565.

คณะกรรมการบริการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรงพยาบาลสกลนคร. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2561.

เรวดีอุดม. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังได้รับการวางแผนจาหน่ายในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2561.

วรัญญา ชลธารกัมปนาท, จันทิมา ขนบดีและปราณีป้องเรือ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และทารกแรกเกิดของมารดาครรภ์แรก. ว.วิทยาลัยพยาบาล พระปกเกล้า จันทบุรี2561;29(1):30–41.

Nganjarus C, Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample Size and Power Calculations for ios [Internet].2014[Cited2021July14]. Available from: https://apkcombo.com/th/n4studies

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพงานแผนกสูตินรีเวชกรรรม.แนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายมารดาหลังคลอดที่เสพสารเสพติดเมทแอมเฟตามีน. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2564.

จินตนา ศรีสุพัพพัตพงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดในจังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

จันทร์สิรินักรบ. การเสริมสร้างพลัง ความเครียดจาการตั้งครรภ์และการดูแลบุตร และพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555.

ศุภิสรา วรโคตร. การดูแลต่อเนื่องสำหรับมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และเครือข่ายสุขภาพอำเภอเต่างอย. ว. การพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย 2558;2(1):61–68.

ลักษณา ญาตินิยม, และอนัญญา สารีพร. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนด. ว. โรงพยาบาลนครพนม 2562;6(2):84–93.

สุกัญญา กาญจนบัตร และคณะ. ศึกษาปัจจัยทำนายของการกลับไปเสพเมทแอมเฟตามีนซ้ำ ในผู้รับการบำบัดยาเสพติดของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในประเทศไทย. อุดรธานี: โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

How to Cite

1.
หอมเพชร พ, กองทรัพย์ พ, แสนบรรดิษฐ์ น. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด ที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำและการกลับมาเสพซ้ำ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 25 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 13 เมษายน 2025];26(1):12-25. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2769

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ