ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิดในสถานการณ์แพร่ระบาด โรคโควิด–19 ในเขตอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ทารก, หญิงตั้งครรภ์, ไทรอยด์ฮอร์โมน, เกลือไอโอดีน, ยาเสริมไอโอดีน, อาหารไอโอดีนสูงบทคัดย่อ
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) การได้รับสารไอโอดีนน้อยลงส่งผล กระทบต่อสุขภาพมารดาและทารก ทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย ทารกมีภาวะโลหิตจาง และพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล สังคม และ สิ่งแวดล้อม กับการพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังคลอดและทารก จำนวน 134 คน เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตาม ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละและวิเคราะห์พหุถดถอยโลจิสติกส์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุ 20–34 ปี ร้อยละ 67.7 บริโภคเกลือไอโอดีนก่อนตั้งครรภ์ ร้อยละ 50.7 ขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 67.2 ฝากครรภ์ได้รับเกลือไอโอดีน ร้อยละ 45.5 รับประทานโฟเลตเตรียมตั้งครรภ์ ร้อยละ 30.6 ฝากครรภ์ได้เกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 53.0 รับประทานยาเสริมไอโอดีนทุกวัน ร้อยละ 57.5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะพร่อง ไทรอยด์ฮอร์โมนในทารก ได้แก่ ครัวเรือนไม่บริโภคเกลือไอโอดีน ก่อนการตั้งครรภ์ไม่รับประทานโฟเลต การศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษา และที่พักอาศัยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิเคราะห์พหุถดถอยโลจิสติกส์พบว่า กลุ่มศึกษาที่สามีดื่มสุรา ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าผู้ที่สามีไม่ดื่มสุรา 0.26 เท่า (ORadj = 0.26, 95%CI 0.10–0.66) สามีสูบบุหรี่ ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าผู้ที่สามีไม่สูบบุหรี่ 0.43 เท่า (ORadj = 0.43, 95%CI 0.20–0.94) และมารดาที่มีภาวะทุพโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์มากว่ามารดา ที่มีภาวะโภชนาการปกติ 2.59 เท่า (ORadj = 2.59, 95%CI = 1.17–5.74) ดังนั้น การบริโภคไอโอดีนจึงมีความ สำคัญต่อหญิงตั้งครรภ์ ควรออกแบบระบบติดตามประเมินการรับประทานยาอย่างเคร่งครัดเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับไอโอดีนเพียงพอในทุกวัน
References
World Health Organization. WHO Coronavirus disease (Covid–19) Dashboard [Internet]. 2022 [Cited 2022 Nov 20]. Available form: https://covid19.who.int/
Speer G, Somogyi P. Thyroid complications of SARS and coronavirus disease 2019 (COVID–19). Endocr J 2021;68(2):129–136.
Kianpour M, Aminorroaya A, Amini M, Feizi A, Aminorroaya Yamini S, Janghorbani M. Thyroid–stimulating hormone (TSH) serum levels and risk of spontaneous abortion: A prospective population–based cohort study. ClinEndocrinol (Oxf) 2019;91(1):163–169.
กลุ่มงานสร้างเสริมสุขภาพ.สรุปวิเคราะห์งานควบคุมป้องกันภาวะโรคขาดสารไอโอดีน.สกลนคร:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2564.
Wayne WD, CHAD LC. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6 th ed. America: John wiley & sons; 1995.
Pregnancy, Childbirth, Postpartum and Newborn Care: A Guide for Essential Practice. Geneva: World Health Organization; 2006.
Nunnally JC. Psychometric theory. New York: McGraw–Hill; 1967.
Alman DG. Practical statistics for medical research. London: Chapman and hall; 1991. p.419–26.
Suplotova LA, Makarova OB, Troshina A. [Neonatal thyrotropin indicatior of monitoring of iodine deficiency severity. What’s level is considered a «cutoff point»?]. Probl Endokrinol (Mosk) 2022;68(6):12–21;2007
Somprasit C, Tanprasertkul C, Rattanasiri T, Saksiriwutth P, Wongkum J,Kovavisarach E, et al. High pre–pregnancy body mass index and the risk of poor obstetrics outcomes among Asian women using BMI criteria for Asians by World Health Organization Western Pacific Region (WPRO): a large cohort study. J Med Assoc Thai 2015;98 (Suppl2):S101–7.
BalharaYP, Deb KS. Impact of alcohol use on thyroid function. Indian J Endocrinol Metab 2013;17(4):580–7.
Rachdaoui N,Sarkar DK.Pathophysiologyof the Effects of Alcohol Abuse on the Endocrine System. Alcohol Res 2017;38(2):255–276.
Punjabi U, Goovaerts I, Peeters K, Van Mulders H, De Neubourg D. Sperm as a Carrier of Genome Instability in Relation to Paternal Lifestyle and Nutritional Conditions. Nutrients 2022;14(15):3155.
Wiersinga WM. Smoking and thyroid. Clin Endocrinol (Oxf) 2013;79(2):145–51.
Sawicka–Gutaj N, Gutaj P, Sowinski J, Wender–Ozegowska E, Czarnywojtek A, Brazert J, et al. Influence of cigarette smoking on thyroid gland—an update. Endokrynol Pol 2014;65(1):54–62.
Noor F, Nessa A,Sharmin A, Yeasmin F, Firoz S, Rahman MH. Body Mass Indexand Serum Thyroid Stimulating Hormone in Third Trimester of Pregnancy. Mymensingh Med J 2021;30(1):69–72.
González–MartínezS,Riestra–Fernández M, Martínez–Morillo E, Avello–Llano N, Delgado–Álvarez E, Menéndez–Torre EL. Nutritional Iodine Status in Pregnant Women from Health Area IV in Asturias (Spain): Iodised Salt Is Enough. Nutrients 2021;13(6):1816.
Huang L, Zhang L, Rao Z, Huang C, Huang H. Dietary iodine intake and urinary iodine concentration during pregnancy in Chengdu, China. Asia Pac J Clin Nutr2021;30(4):643–650.
Tariku WB, Mazengia AL. Knowledge and Utilization of Iodized Salt and Its Associated Factors at Household Level in Mecha District, Northwest Ethiopia. J Nutr Metab 2019;2019:9763830.
Mamo W, Derso T, Nigatu SG. Adequately Iodized Salt Utilization and Associated Factors among Households in Tach Armachio District, Northwest Ethiopia: A Community–Based Cross–Sectional Study. J Nutr Metab 2021;2021:6630450.
Babiz Leko M, Gunjaza I, Pleiz N, Zemunik T. Environmental Factors Affecting Thyroid–Stimulating Hormone and Thyroid Hormone Levels. Int J Mol Sci 2021;22(12):6521.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง