การศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ ในระยะคลอดด้วยวิธี Dare และวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงกับน้ำหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบางบัวทอง
คำสำคัญ:
การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์, ความสูงของยอดมดลูก, เส้นรอบท้อง, วิธี Dareบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลของการ คาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธี Dare และวิธีตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงกับน้ำหนักทารกจริง ใน หญิงตั้งครรภ์จำนวน 115 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการ วัดความสูงของมดลูกและวัดความยาวรอบท้องของหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 62.90 อายุ 20–29 ปี อายุเฉลี่ย 23.44 ± 4.62 ปี เป็นการตั้งครรภ์ แรก ร้อยละ 41.70 คลอดปกติ ร้อยละ 67.00 คลอดทารกเพศชาย ร้อยละ 54.80 น้ำหนักเฉลี่ยก่อนการตั้งครรภ์ 47.48 กก. ค่า BMI เฉลี่ยก่อนการตั้งครรภ์ 19.05 กก./ม2 และน้ำหนักเฉลี่ยวันมาคลอด 57.70 กก. ค่า BMI เฉลี่ยวันมาคลอด 23.17 กก./ม2 ค่าเฉลี่ยความยาวรอบท้องและความสูงของมดลูก 89.62 และ 30.74 ซม. ตาม ลำดับ น้ำหนักทารกคาดคะเนโดยวิธี Dare เฉลี่ย 2,757.42 กรัม น้ำหนักทารกคาดคะเนโดยวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูงเฉลี่ย 2,993.10 กรัม และน้ำหนักทารกจริงเฉลี่ย 3,014.92 กรัม เมื่อทดสอบทางสถิติความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกระหว่างสามกลุ่มพบว่า ไม่แตกต่างกัน น้ำหนักทารกที่คาดคะเนโดยวิธี Dare และน้ำหนักทารก ที่คาดคะเนโดยวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับน้ำหนักทารกจริง (r = 0.41 และ 0.47 ตามลำดับ) แต่เป็นค่าความสัมพันธ์ในระดับต่ำ
References
Gurewitsch Allen ED,WillSEB, Allen RH,Satin AJ. Improving shoulder dystocia management and outcomes with a targeted quality assurance program. Am JPerinatol2017;34(11):1088–1096.
Committeeon Practice B–O. Macrosomia: ACOG Practice Bulletin, Number216. Obstet Gynecol 2020;135(1):e18–e35.
Turkmen S, Johansson S, Dahmoun M. Foetal Macrosomia and Foetal–Maternal Outcomes at Birth. J Pregnancy 2018;4790136.
โรงพยาบาลบางบัวทอง.รายงานข้อมูลตัวชี้วัดระดับหน่วยงานประจำปี. นนทบุรี: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา; 2563.
Cunningham FG, Levono KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, & Spong CY. Williams obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw–Hill; 2010. p.199–200.
Dare FO, Ademowore AS, Ifaturoti OO, Nganwachu A. Thevalue of symphysio–fundalheight/abdominal girth measurements in predicting fetal weight. Int J Gynaecol Obstet1990;31(3):243–8.
สุรัตน์ เอื้ออำนวย และเทียรทอง ชาระ. การประมาณน้ำหนักทารกในครรภ์โดยใช้สูตรของจอห์นสันและสูตรของแดร์. ว. พยาบาลเกื้อการุณย์2020;27(2):155–163.
นิพิฐพนธ์สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. ว. วิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ2562;5(1):496–507.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ:ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.
Lertrat W, Kitiyodom S. Accuracy of Intrapartum Fetal Weight Estimation Using Dare’s Formula and Transabdominal Ultrasonography in Pregnant Women with Normal and High Prepregnant BMIat Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology 2021;29(6):313–21
อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์และสุภาพ ชอบขยัน. การศึกษาเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธีการของ Dare และ Johnson และความสัมพันธ์กับน้พำหนักทารกเมื่อแรกเกิด. ว. วิชาการสาธารณสุข 2563;29:639–645.
Nasir M, Sohail I, and Siraj N. Estimated Fetal Weight; A Comparison between clinical and Ultrasonographical Measurements. J Soc Obstet Gynaecol Pak 2019;9(3):135–40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง