ผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร 

คำสำคัญ:

การพัฒนางานตาม PDCA, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, การแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจริญศิลป์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ อาสาสมัครกู้ชีพ ฉุกเฉิน 54 คน พนักงานขับรถพยาบาล 8 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ และเวรเปล 13 คน พยาบาลวิชาชีพและนักเวชกิจฉุกเฉิน 26 คน รวม จำนวน 101 คน ดำเนินงานพัฒนาตามกระบวนการทฤษฏีวงจรคุณภาพ (Deming Cycle: PDCA) ระหว่าง เดือนมกราคม–เมษายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t–test ข้อมูลเชิงคุณภาพสรุปรวบรวมตามกระบวนการ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

             ผลการวิจัย ในขั้นตอนการวางแผนมีการระดมความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน ได้แผนพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน พัฒนาหน่วยปฏิบัติการ และพัฒนาแนวทางการออกปฏิบัติการ นำสู่การปฏิบัติตามแผน ในขั้นการ ตรวจสอบมีการติดตาม กำกับ อย่างต่อเนื่อง ปรับกระบวนการทำงาน ได้แก่ 1) เพิ่มพนักงานขับรถพยาบาล ตลอด 24 ชั่วโมง 2) จัดเวรพยาบาล EMS ขึ้นปฏิบัติงานทุกวันแยกจากงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 3) จัดประชุมทบทวนเมื่อพบ อุบัติการณ์ ทุกเดือน 4) ปรับปรุงห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 5) จัดทำแนวทางการให้บริการ 6) ติดตั้งระบบ GPS กล้องติดตาม และบันทึกความเร็วของรถ EMS 7) จัดอบรมการดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลและซ้อมแผนรับอุบัติเหตุหมู่และสาธารณภัย และผลการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ของเจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน พบว่า ทุกกลุ่ม มีระดับความรู้ และระดับทัศนคติอยู่ในระดับดี ซึ่งก่อนและหลังพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value < 0.001) ยกเว้น ทัศนคติของอาสากู้ชีพฉุกเฉินไม่แตกต่างกัน ระดับทักษะอยู่ในระดับดี ก่อนและหลังพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p–value < 0.05) ส่งผลให้ผู้ป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤตหรือเร่งด่วนได้รับการช่วยเหลือและนำส่งด้วยระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมมากขึ้น

Author Biography

สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์, โรงพยาบาลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร 

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร 

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติฉบับที่3.1 พ.ศ. (2562–2565). นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2562.

งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. รายงานประจำปี2565 งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. สกลนคร: งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน; 2565.

เสาวรส จันทมาศ, กัญจนา ปุกคำ, สุมาลีพลจรัส, และประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. ว. พยาบาลสงขลานครินทร์ 2565;42(3):25–39.

เยาวลักษณ์ ผุยหัวโทน, และจุไรพร กนกวิจิตร. การศึกษาระบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cmneuro.go.th/TH/research/63–Full%20Paper

ศศิกานต์ มาลากิจสกุล. ผลของรูปแบบการดำเนินงาน D–RTI Plus ต่อการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เขตสุขภาพที่3.ว. โรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่3จังหวัดนครสวรรค์ 2563;14(1):25–34.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) PDCA (Deming Cycle) Management Techniques. ว. สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 2562;1(3):39–46.

พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2554.

สรายุทธ กันหลง. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://www.ipernity.com/blog/252172/

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

บุญเรียง ขจรศิลป์. เทคนิคการอ่านและตีความหมายจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2554.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสกลนครโดยใช้แอปพลิเคชัน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. แนวทางการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสกลนครโดยใช้แอพพลิเคชั่น;

ธันวาคม 2566; ณ ห้องประชุมภูริทัตโต ชั้น 9 อาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินและผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร.

พรชนิดา แก้วเปี้ย, กุลวดี อภิชาติบุตร, และอรอนงค์ วิชัยคำ. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ห้องอุบัติเหตุ–ฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. เชียงใหม่พยาบาลสาร 2563;47(2):369–380.

กงทอง ไพศาล. การพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. ว. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12(1):93–100.

กันยารัตน์เกิดแก้ว และนิตยา สินเธาว์. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคไทยแลนด์4.0 ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี2563;3(3):94–111.

ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ปญาดา ชื่นสำโรง และพรทิพย์วชิรดิลก. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสู่ภาวะปกติใหม่(EMS new normal):แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาในการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/416748_20221108154200.pdf

พัชรพร นิลนวล, วรพจน์พรหมสัตยพรต, และนันทวรรณ ทิพยเนตร. การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ว. วิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(3):97–108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

1.
โชคคติวัฒน์ ส. ผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 26 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];26(2):28-40. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2785