ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะ โรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อรพิน คชพิมพ์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแล, เด็กวัยเตาะแตะ, โรคปอดอักเสบ, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของระบบการพยาบาลสนับสนุน และให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอด อักเสบ อายุ 1–3 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 19 ราย เก็บข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มควบคุมได้รับการ พยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบที

               ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ผู้ดูแลที่ได้รับระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ มีค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ (gif.latex?\bar{x} = 83.79, S.D. 4.18) สูงกว่าก่อนการทดลอง (gif.latex?\bar{x} = 73.32, S.D. 4.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (gif.latex?\bar{x} = 74.79, S.D. 3.12) ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ที่ประกอบด้วยการสอน การสาธิต การชี้แนะ การสนับสนุน และการสร้างสิ่งแวดล้อม สามารถส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแล เด็กโรคปอดอักเสบได้ดีขึ้น

Author Biography

อรพิน คชพิมพ์, โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

References

ดวงเนตร์ภู่วัฒนาวนิชย์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล 2560;19(2):35–44.

UNICEF.Pneumonia[Internet].2019[Cited2022 November11]. Availabie from: https://www.data.unicef.org/topic/child–health/pneumonia

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถิติสุขภาพคนไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/

thaihealthstat/area/index.php?ma=2&pf=01101001&tp=231

โรงพยาบาลอากาศอำนวย. hospitalprofileโรงพยาบาลอากาศอำนวย.สกลนคร: โรงพยาบาลอากาศอำนวย; 2565.

China AS, Iyer CR, Gornale VK, Katwe N, Sushma S, Harsha PJ, Chandan CK. Clinical Profile of Lower Respiratory Tract Infection in Children between 2 months to 5 Year. JEBMH 2015;2(35):5426–5431.

Gereige RS, Laufer PM. Pneumonia. Pediatr Rev 2013;34(10):438–456.

ชณาพรทิพย์รัตนวิชัย, และนราทิพ อุดแก้ว. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมมารดาในการป้องกันโรคปอดอักเสบให้บุตรอายุ0–5 ปีโรงพยาบาลพิจิตร. ว. โรงพยาบาลพิจิตร 2561;(1):56–66.

วิภาธินี หน่อจันทร์, วรรณทนีย์ ภูมิอภิรดี และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. ผลการใช้โปรแกรมการสอนต่อความรู้ของผู้ดูแลเด็กและการเกิดซ้ำของโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. ว. วิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2565;2(2):1–11.

โรงพยาบาลอากาศอำนวย. service profile ตึกหลวงตามหาบัว โรงพยาบาลอากาศอำนวย. สกลนคร: โรงพยาบาลอากาศอำนวย; 2565.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

พัชรินทร์น้อยอามาตย์. ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของบิดา มารดาในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175–191.

อารีศุขแจ้ง, พัชรา เกษมสุข,และจรินญา บุ้งทอง. ประสิทธิภาพของการวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ว. การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์ 2565;37(1):217–230.

ไพลิน นัดสันเทียะ,วรกัญญา พลอาษา,และอริสาแสนมิตร. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลระบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือน เข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสกลนคร.ว. โรงพยาบาลสกลนคร563;23(1):1–14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

1.
คชพิมพ์ อ. ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะ โรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 26 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];26(2):41-54. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2793