การพัฒนาเครือข่ายพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
เครือข่ายพยาบาล, พยาบาลผู้จัดการรายกรณี, สมรรถนะพยาบาล, ภาวะ STEMIบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จังหวัดสกลนคร และศึกษาผลลัพธ์ภายหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงพยาบาลสกลนครและโรงพยาบาลเครือข่าย 18 แห่ง ประกอบด้วย 1) กลุ่มพัฒนาเครือข่าย ได้แก่ หัวหน้าพยาบาล หัวหน้างานอุบัติเหตุฉุกเฉิน และพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง รวมจำนวน 37 คน 2) พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 20 คน และ 3) กลุ่มผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 200 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 100 คน ได้รับการพยาบาลโดยใช้รูปแบบพยาบาลผู้จัดการรายกรณี และกลุ่มควบคุม 100 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ ดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน ระหว่างเดือน สิงหาคม พ.ศ.2566 – พฤษภาคม พ.ศ.2567 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติตามการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผู้จัดการรายกรณี แนวทางการนิเทศเครือข่าย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินสมรรถนะ แบบนิเทศทางคลินิก และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test และ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) เครือข่ายพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จังหวัดสกลนคร มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ สมรรถนะพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รูปแบบพยาบาลผู้จัดการรายกรณี และการนิเทศทางคลินิกระดับเครือข่าย ทำให้มีการปฏิบัติตามแนวทางเดียวกัน และ 2) หลังการพัฒนาเครือข่ายฯ พบว่า ผู้ป่วยได้รับการการรักษาตามมาตรฐานเพิ่มขึ้น เข้าถึงบริการในเวลาที่รวดเร็ว และได้รับการเปิดขยายหลอดเลือด อุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการพัฒนา (p < 0.05)
References
เกรียงไกร ฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยSTEMIฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. นนทบุรี: สถาบันโรคทรวงอก กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST- segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2018;39(2):119-177.
สถาบันโรคหัวใจและทรวงอก. Thai ACS registry. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ccit.go.th/saveheart
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลสกลนคร. สถิติผู้รับบริการ รายงานผลการทบทวนการดูแลผู้ป่วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสกลนคร ประจำปี 2564 – 2566. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2566.
สุวนิตย์ โพธิจันทร์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรค STEMI ชนิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลขอนแก่น. ว. สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554;29(1):22-29.
วิมนต์ วันยะนาพร, สิรินาถ มีเจริญ, บุศดี เสือเดช. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. ว. กองการพยาบาล 2558;42(3):34- 49.
จิราพร มณีพราย. การพัฒนาเครือข่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง (STEMI) จังหวัดกําแพงเพชร. ว. วิชาการสาธารณสุข 2558;24(5):907-20.
อมรรัตน์ ปานะโปยและบุหลัน เปลี่ยนไธสง. การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์. ว. การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(2):145-63.
Powell SK. Advanced case management: Out-comes and beyond. Philadelphia: Lippincott- Williams & Wilkins; 2000
กฤษดา จวนวันเพ็ญ, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, บุญจง แซ่จึง. การพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาลผู้ป่วยรายกรณี สำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ว. วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี นครราชสีมา 2557:20(1):70- 84.
Mahdjoubi D. Four Type of R&D [Internet]. 2009 [Cited 2017 Oct 10]. Available from: https://www.bioin.or.kr/InnoDS/data/upload/
policy/1265598213568.pdf
ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง , วนิดา ทองโคตร , สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2560.
Taro Yamane. Statistics, An Introductory Analysis. 2 nd ed. New York: Harper and Row; 1967.
Benner P. From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park: Addison-Wesley; 1984.
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรสถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบและวิจัย. กรุงทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ; 2560.
Butterworth T, Cutcliffe JR, Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In: Butterworth T, Cutcliffe JR, Proctor B, editors. Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge; 2001.
สุรีย์ กรองทอง, ศศิธร กระจายกลาง, นงลักษณ์ สุรศร, สุนันญา พรมตวง. พัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ว. การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(1):45-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง