ผลของการใช้สื่อแผ่นพับ Save me และการใช้แอปพลิเคชัน Save me ต่อความรู้และพฤติกรรมของวัยรุ่นตอนต้นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ , ความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, วัยรุ่นตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นตอนต้น ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมความรู้โดยการใช้สื่อแผ่นพับ Save me และกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมความรู้โดยการใช้แอปพลิเคชัน Save me กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 โรงเรียนพะทายพิทยาคม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม กลุ่มละ 50 คน รวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สื่อแผ่นพับ save me และแอปพลิเคชัน save me ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ส่วนเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินความรู้และ พฤติกรรมการในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เปรียบเทียบคะแนนความรู้และเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในกลุ่มที่ใช้สื่อแผ่นพับ Save me (Mean = 13.45, S.D. = 1.12) และกลุ่มทดลองที่ใช้แอปพลิเคชัน Save me ( Mean = 13.90, S.D. = 1.35) เพิ่ม ขึ้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งจากการทดสอบสมมติฐานด้วย t–test พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ไม่แตกต่าง กัน 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในกลุ่มที่ใช้สื่อแผ่นพับ Save me ( Mean = 19.36, S.D. = 3.96) เพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชัน Save me (Mean= 26.62, S.D. = 5.02 ) เพิ่มขึ้นในระดับสูง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ดังนั้นการใช้สื่อแผ่นพับ Save me และการใช้แอปพลิเคชัน Save me ช่วยส่งเสริมความรู้เด็กวัยรุ่นตอนต้นให้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน แต่ด้านพฤติกรรม การใช้แอปพลิเคชัน Save me สามารถส่งเสริมพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นตอนต้นผู้ได้ดีกว่าการใช้สื่อแผ่นพับ Save me
คำสำคัญ: การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ วัยรุ่นตอนต้น
References
ลออ สิงหโชติสุขแพทย์, ศิรินทร์ณา ทัศนียรัตน์, กัลยา แก้วสม, เพชรีย์ กุณาละสิริ, รวินันท์ นุชศิลป์, มนชยา สมจริต, และคนอื่น ๆ. ผลของโปรแกรมทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกัน ความเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี. ว. การพยาบาลจิตเวชและ สุขภาพจิต 2563;34(1):134–151.
ภาสิต ศิริเทศ, เชิดศักดิ์ เค้าศูนย์, และลีรัตน์ กองสิน. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา. ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563;9(2):09-100.
เทพไทย โชติชัย, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, สมฤทัย ผดุงผล, กิรณา แต้อารักษ์, และชมพูนุท สิริพรหมภัทร. การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ว. บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 2563;7(1):212-224.
เบญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. เพศวิถีศึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้น: การทบทวนวรรณกรรม ว. สภาการพยาบาล 2561;33(3):67-81.
พัชราพร ควรรณสุ, พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์, และนันทนา ควรรณสุ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิงจังหวัดนครพนม.ว. อนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2566;8(1):324- 336.
สรุปผลการตรวจและนิเทศงานประจำปี 2566 ประเด็น: สุขภาพวัยรุ่น จังหวัดนครพนม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2567] เข้าถึงได้ จาก: https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload file/20230804021115.pdf
วันวิสา บุญยืนมั่น. ผลของโปรแกรมการให้คุณค่าและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินของวัยรุ่นหญิงตาบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ว. อนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2567;9(4):407-415.
ธิติรัตน์ ราศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. ว. วิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2567;11(2):107-120.
ชานนท์ พันธ์นิกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นตามการรับรู้ของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2563;2(2):60-69.
ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข, และวัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสุรินทร์. ว. การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2563;27(2):158-165.
นันทพร ศรีเมฆารัตน์. รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. ว. สุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563;5(3):96-104.
สุภาภรณ์ สมศรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. ว. สุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563;7(2):1-13.
บุษกร กนแกม, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, และ ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตแบบมีส่วนร่วม ต่อความรู้เรื่องเพศศึกษาทักษะชีวิตและพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตอนต้น. ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(1):196-208.
Fisher JD, & Fisher WA. Information- Motivation-Behavioral Skills Model. In Diclemente RJ, Crosby RA, Kegler MC, editors. Emerging theories in health promotion practice and research. San Fancisco: Jossey-Bass; 2002: 40-70.
นิพิทพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป G*POWER [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2567] เข้าถึงได้จาก: https://bri.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/4
พีรพล ไชยชาติ และเกศินี สราญฤทธิชัย ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(4):42-51.
Bloom BJ, Engelhart MD, Furst EJ, Hill Wit, Krathwohl DR. Taxonomy of Educational Objectives: Handbook: Cognitive Domain. New York: David McKay; 1967.
Brayboy LM, Sepolen A, Mezoian T, Schultz L, Landgren-Mills BS, Spencer N, et al. Girl Talk: A smartphone application to teach sexual health education to adolescent girls. J Pediatr Adolesc Gynecol 2017;30(1):23-8.
สุภาพันธ์ จันทร์ศิริ, เจริญชัย วงศ์วัฒน์กิจ. ประสิทธิผลของรูปแบบการให้ความรู้ ผ่านโมบาย เว็บแอปพลิเคชั่นต่อความรู้ในการดูแลสุขภาพทางเพศ การป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในวัยรุ่นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จังหวัดเชียงราย. ว. พยาบาลศาสตร์ 2565;40(3):1-13.
มารศรี ศิริสวัสดิ์, อภิสิทิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป์, และนันทพร ระดาเขต. ผลของการใช้สื่อสมุดเล่มเล็กทันตสุขภาพ For ฟัน และการใช้แอปพลิเคชัน For ฟัน ต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็กปฐมวัย. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(3):12-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง