รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคปกติวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา กาบมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สิริอร ข้อยุ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ , ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคปกติวิถีใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 30 คน ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 70 ชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อย่างน้อย 1 ปี 2) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงซึ่งมีค่าคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) อยู่ระหว่าง 0 -11 จำนวน 30 คน และ 3) บุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบสอบถามการรับรู้บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ แบบสอบถามความพึงพอใจในบทบาทหน้าที่ฯ แบบประเมิน ADL ของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามความพึงพอใจของครอบครัวผู้สูงอายุ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยรวมเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที

               ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในยุคปกติวิถีใหม่ 2) การพัฒนาทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การดูแลกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลเฉพาะอย่าง เช่น การทำแผลกดทับ การให้อาหารทางสายยาง การฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้สูงอายุ 3) การพัฒนาทักษะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม และ 4) การเสริมสร้างพลังอำนาจและการจัดการความเครียดของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ภายหลังการพัฒนาศักยภาพ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ มีการรับรู้บทบาทหน้าที่ และมีความพึงพอใจในบทบาทหน้าที่ และบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการทำหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ไม่แตกต่างจากก่อนการใช้รูปแบบฯ

               ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพและความมั่นใจในการการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุฯ และควรทำการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบฯ ในระยะยาว รวมถึงศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อขยายผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบฯ ให้มีความเหมาะสมกับทุกบริบท

Author Biographies

เนตรนภา กาบมณี , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

สิริอร ข้อยุ่น , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์ , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

References

จินตนา อาจสันเที๊ยะ, และรัชณีย์ ป้อมทอง. แนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพยาบาล. ว. พยาบาลทหารบก 2561;19(1):39-49.

ณปภา ประยูรวงษ์. สถานการณ์แนวโน้มและการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงประเทศไทย. ว. ศาสตรสาธารณสุขและนวัตกรรม 2565;2(2):14-25.

จิตรกร วนะรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชมรมจริยธรรม. ว. วิชาการสาธารณสุข 2564;30(2):285-294.

ณปภา ประยูรวงษ์. สถานการณ์แนวโน้มและการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงประเทศไทย. ว. ศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2565;2(2):14-25.

วิยะดา รัตนสุวรรณ, และปะราลี โอภาสนันท์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. ว. การพยาบาลและการศึกษา 2561;11(4):156-174.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. คู่มือการดำเนินงาน ตัวชี้วัด: ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ประจำปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/slow-down-aging/download

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงษ์ไทย, พรรณิภา ไชยรัตน์. การพัฒนาแนวทางอาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. ว. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2561;1(2):39-54.

เยาวภา สีดอกบวบ, พะเยา พรมดี, ขวัญจิต คงพุฒิคุณ, และธนาภา ฤทธิวงษ์. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. ว. วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2566;17(2):99-101.

ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล. ศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561;2(2):26-37.

วิภา สุวรรณรัตน์, เจตจรรยา บุญญกูล, และมาลี เกตแก้ว. การส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19. ว. วิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2565;23(3):117-131.

กาญจนา ปัญญาธร, เพชรา ทองเผ้า, มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์, สุกัลยาณี สิงห์สัตย์, และจิราวรรณ บรรณบดี. สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ของชุมชนจังหวัดอุดรธานี. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;40(1):16-25.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/filedownload/file_20210129131952.pdf

ชลการ ทรงศรี, กิตติพร โพธิทากูล, สุวัฒน์ ทรงศรี, อาคม นามบุรี, และกาญจนา ปัญญาธร. บทเรียนการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2563;23(2):77-90.

ศศิธร สุขจิตต์ จงรัก ดวงทองและวรวุฒิ ธุวะคำ. ศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์. ว. สภาการสาธารสุขชุมชน 2563;3(2):109-118.

ศิวัช ปิยะรัตนวัฒน์. ศึกษาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จ.นครปฐม. ว. สิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2567;9(2):21-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

1.
กาบมณี เ, ข้อยุ่น ส, พิสัยพันธุ์ ส. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคปกติวิถีใหม่. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];27(3):57-69. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/3430