การวิจัยเชิงสำรวจ: ระดับความสุขและพฤติกรรมการรับมือกับปัญหาในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ระดับความสุข , พฤติกรรมการรับมือกับปัญหาในการทำงาน , แบบประเมิน HAPPINOMETER , บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความสุขและพฤติกรรมการรับมือกับปัญหาในการทำงาน และความสัมพันธ์ของลักษณะประชากรกับความสุขและพฤติกรรมการรับมือกับปัญหาในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 -วันที่ 30 กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร จำนวน 138 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมิน HAPPINOMETER และแบบประเมินพฤติกรรมการรับมือกับปัญหาในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Chi-square และ Fisher’s exact test
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 56.5 โดยมิติที่ 1-7 ด้านสุขภาพดี ผ่อนคลายดี น้ำใจดี จิตวิญญาณดี ครอบครัวดี สังคมดีและใฝ่รู้ดี อยู่ในระดับมาก มิติที่ 8-9 ด้านสุขภาพเงินดี และการงานดี อยู่ในระดับปานกลาง ระดับความสุขเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.47, S.D. = 0.51) พฤติกรรมการรับมือกับปัญหาในการทำงานแบบมุ่งแก้ปัญหาปฏิบัติระดับมาก 2 อันดับแรก คือ เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามประสบการณ์ โดยภาพรวมปฏิบัติในระดับปานกลาง (
= 1.88, S.D.= 0.57) พฤติกรรมการรับมือกับปัญหาแบบมุ่งแก้อารมณ์ปฏิบัติระดับมาก 2 อันดับแรก คือ ทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น เช่น ฟังเพลง เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ และนอนหลับมากขึ้น โดยภาพรวมปฏิบัติในระดับปานกลาง (
= 1.55, S.D. = 0.52)
References
กนกอร เปรมเดชา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพการทำงานการจัดการความเครียดและระดับความเครียดของพนักงานมหาวิทยาลัย [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.
กิติพัฒน์ ดามาพงษ์. ความสุข ความพึงพอใจต่อความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
Carver CS. Coping. In: Gellman MD, Turner JR, editors. Encyclopedia of behavioral medicine. New York: Springer; 2013. P.496-500.
Goldman R. Healthy coping skills for uncomfortable emotions; emotion-focused and problem focused strategies. [Internet]. 2022 [ cited 2022 Oct 9]. Available from : https://www.verywellmind.com/forty-healthy-coping-skills-4586742
Weiers R M. Introduction to business statistics. Pennsylvania: Duxbury Press; 2005.
Lazarus RS, Folkman S. Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer; 1984.
กองนโยบายและแผน. ความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีงบประมาณ 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// news.npru.ac.th/userfiles/S06A/nm_files/20191016163012_รายงานความสุุขในการทำงาน.pdf
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. คู่มือเปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี: พลังสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2563.
ฐิติวัจน์ ทองแก้ว, ประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ว. มหาวิทยาลัยศิลปากร มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ 2560;10(1):1943-1958.
อังศนา อินแดน. ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ว. มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน 2565;8(1):255-272.
Greenfield C, Terry M. Work/life: From a set of programs to a strategic way of management. Employment Relations Today 1995:22(3):67-81.
พิมลพรรณ ดีเมฆ, ศิริพร เงินทอง. พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2566 ]. เข้าถึงได้จาก: https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/9892020-01-10.pdf
Garland LM, Bush GT. Coping behaviors and nursing. Virginia: Reston; 1982.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง