ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล , ผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 , ภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรงพยาบาลสกลนคร และศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 13 คน และผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 แบบบันทึกการตรวจสอบกิจกรรมการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจ ทั้ง 3 เครื่องมือมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค แบบบันทึกการตรวจสอบกิจกรรมการพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการใช้แนวปฏิบัติ อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงลดลงจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 5 ภาวะไตวายเฉียบพลันลดลงจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 และภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันลดลงจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 และ 2) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติโดยรวมในระดับมากที่สุด (Mean = 4.38, S.D = 0.51) แสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัตินี้มีประสิทธิผลในการลดภาวะแทรกซ้อนและได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติ
References
พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์. ข้อเสนอการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดจากโรคระบาดรุนแรง บทเรียน
จากการบริหารจัดการแพทย์ฉุกเฉินของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทย.
ว. การแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2565;2(1):90-97.
Guo YR, Cao QD, Hong ZS, Tan YY, Chen SD, Jin HJ, et al. The origin, transmission and
clinical therapies on coronavirus disease 2019 (covid-19) outbreak: An update on the status
[Internet]. [cited 2022 October 1]. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7068984/
WHO. Clinical management of COVID-19: Critical care guidelines and outcomes [Internet].
[cited 2023 Oct 31]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Clinical-2023.2
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลสกลนคร. สถิติผู้รับบริการ โรงพยาบาลสกลนคร ประจำปี 2564-2566. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2566.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thainapci.org/2021/2022
สายทิพย์ ไชยรา, ไพลิน นัดสันเทียะ, อิศรา ศรีทอง, และจีรวรรณ์ ศิริมนตรี. 2566. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 โรงพยาบาลสกลนคร. ว. พยาบาลทหารบก 2566;24(2):435-455.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และ ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. ว. วิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562;5(1):496-507.
Thompson BG, Walker RL, Smith KJ, et al. Implementation of standardized nursing protocols for COVID-19 critical care: A multicenter study on sepsis prevention and outcomes. Crit Care Nurs Q 2023;45(2):112-25.
Li H, Zhang Y, Chen X, et al. Impact of comprehensive nursing guidelines on clinical outcomes of critically ill COVID-19 patients: A multicenter study in tertiary hospitals in Asia. Int J Nurs Stud 2023;128:104-17.
Anderson KM, White PH, Johnson DR, et al. Systematic review of nursing interventions to prevent acute kidney injury in COVID-19 critical care patients. Am J Crit Care 2023;32(3):167-82.
Garcia-Rodriguez JA, Martinez-Lopez P, Sanchez-Garcia M, et al. Prevention of acute respiratory failure in COVID-19 critical care: Analysis of nursing protocols and treatment outcomes. Intensive Crit Care Nurse 2023;70:103-14.
อรพรรณ โตสิงห์, ประณีต ส่งวัฒนา, วิภา แก้วเคน. ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. ว. พยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;41(2):67-82.
พรทิพย์ มาลาธรรม, ประคอง อินทรสมบัติ, สมจิต หนุเจริญกุล. ความต้องการการสนับสนุนของ พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19. ว. สภาการพยาบาล 2564;36(4):45-60.
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ยุวดี เกตุสัมพันธ์, นงลักษณ์ จินตนาดิลก. การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ในหอผู้ป่วยวิกฤต. ว. พยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2565;45(1):112-26.
สุปราณี เสนาดิสัย, วิไลวรรณ ทองเจริญ, ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลใน สถานการณ์โควิด-19: บทเรียนจากประสบการณ์. ว. พยาบาลศาสตร์ 2564;39(4):89-104.
พรทิพย์ มาลาธรรม, ประคอง อินทรสมบัติ, สมจิต หนุเจริญกุล. ความต้องการการสนับสนุนของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19. ว. สภาการพยาบาล 2564;36(4):45-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง