ผลของยา Dexamethasone ในการลดอาการเจ็บคอและเสียงแหบหลังผ่าตัดที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจใส่หลอดลมแขนงชนิดสองช่อง

ผู้แต่ง

  • ปภัสรา พวงประพันธ์ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร
  • อริยฉัฏร กาฬหว้า โรงพยาบาลสกลนคร
  • ภัชรวี วงศาพาน โรงพยาบาลสกลนคร
  • ผ่องศรี นวลมณี โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

เดกซาเมทาโซน , อาการเจ็บคอหลังผ่าตัด , เสียงแหบ , ท่อช่วยหายใจใส่หลอดลมแขนงชนิดสองช่อง , การผ่าตัดทรวงอก

บทคัดย่อ

          อาการเจ็บคอและเสียงแหบหลังผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ทั่วไปภายหลังการใส่ท่อช่วยหายใจใส่ หลอดลมแขนงชนิดสองช่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา เดกซาเมทาโซน (dexamethasone) ในการป้องกันอาการเจ็บคอและเสียงแหบในผู้ป่วย 94 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดทรวงอกซึ่งต้องใช้ท่อช่วยหายใจใส่หลอดลมแขนงชนิดสองช่อง ณ โรงพยาบาลสกลนคร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565-พฤษภาคม 2566 โดยผู้ป่วยถูกสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับยาเดกซาเมทาโซนขนาด 0.2 มก./กก. กลุ่มควบคุมได้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำหลังการนำสลบ วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาคืออุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการเจ็บคอและเสียงแหบที่เวลา 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วัตถุประสงค์รองคือศึกษาถึงผลข้างเคียงจากการให้ยา

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับเดกซาเมทาโซนพบอุบัติการณ์ของอาการเจ็บคอต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่ 1 ชั่วโมง (ร้อยละ 2.17 เทียบกับ ร้อยละ 28.26, p < 0.001) และ 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด (ร้อยละ 15.22 เทียบกับ ร้อยละ 56.52, p < 0.001) โดยเฉพาะที่ 24 ชั่วโมง สามารถลดความเสี่ยงของอาการเจ็บคอได้ถึงร้อยละ 73.07 โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาเพื่อป้องกันหนึ่งรายเท่ากับ 2.42 รวมถึงอาการเสียงแหบก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 24 ชั่วโมง (ร้อยละ 6.52 เทียบกับร้อยละ 30.43, p = 0.003) นอกจากนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงที่มีนัยสำคัญระหว่างการติดตามผล 2 สัปดาห์ จากผลการศึกษานี้แนะนำได้ว่าควรให้ยาเดกซาเมทาโซนทางหลอดเลือดดำขนาด 0.2 มก./กก. เพื่อช่วยป้องกันอาการเจ็บคอและเสียงแหบในผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่เข้ารับการผ่าตัดทรวงอกโดยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจใส่หลอดลมแขนงชนิดสองช่อง

Author Biographies

ปภัสรา พวงประพันธ์ , โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

อริยฉัฏร กาฬหว้า , โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

ภัชรวี วงศาพาน , โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

ผ่องศรี นวลมณี , โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

References

Eastwood J, Mahajan R. One‐lung anaesthesia. BJA CEPD Reviews 2002;2(3):83-7.

Morgan G, Mikhail M, Murray M, Larson C. Anesthesia for thoracic surgery. Clinical Anesthesiology 3th ed New York: McGraw-Hill Companies; 2002. p. 525-51.

Knoll H, Ziegeler S, Schreiber J-U, Buchinger H, Bialas P, Semyonov K, et al. Airway injuries after one-lung ventilation: a comparison between double-lumen tube and endobronchial blocker: a randomized, prospective, controlled trial. The Journal of the American Society of Anesthesiologists 2006;105(3):471-7.

El-Boghdadly K, Bailey C, Wiles M. Postoperative sore throat: a systematic review. Anaesthesia 2016;71(6):706-17.

McHardy F, Chung F. Postoperative sore throat: cause, prevention and treatment. Anaesthesia 1999;54(5):444-53.

Jones M, Catling S, Evans E, Green D, Green J. Hoarseness after tracheal intubation. Anaesthesia 1992;47(3):213-6.

Christensen A, Willemoes-Larsen H, Lundby L, Jakobsen K. Postoperative throat complaints after tracheal intubation. British Journal of Anaesthesia 1994;73(6):786-7.

Lee KH, Lim HK, Lee KM, Kim SY. The Incidence of Sore Throat and Hoarseness after Double-Lumen Endobronchial Tube Intubation. Korean Journal of Anesthesiology 1998;35(3):484-7.

Higgins P, Chung F, Mezei G. Postoperative sore throat after ambulatory surgery. British journal of anaesthesia 2002;88(4):582-4.

Vyvey M. Steroids as pain relief adjuvants. Canadian Family Physician 2010;56(12):1295-7.

De Oliveira GS, Almeida MD, Benzon HT, McCarthy RJ. Perioperative single dose systemic dexamethasone for postoperative pain: a meta-analysis of randomized controlled trials. The Journal of the American Society of Anesthesiologists 2011;115(3):575-88.

Waldron N, Jones C, Gan T, Allen T, Habib A. Impact of perioperative dexamethasone on postoperative analgesia and side-effects: systematic review and meta-analysis. British journal of anaesthesia 2013;110(2):191-200.

Bagchi D, Mandal MC, Das S, Sahoo T, Basu SR, Sarkar S. Efficacy of intravenous dexamethasone to reduce incidence of postoperative sore throat: A prospective randomized controlled trial. Journal of Anaesthesiology Clinical Pharmacology 2012;28(4):477-80.

Park SH, Han SH, Do SH, Kim JW, Rhee Ky, Kim JH. Prophylactic dexamethasone decreases the incidence of sore throat and hoarseness after tracheal extubation with a double-lumen endobronchial tube. Anesthesia & Analgesia 2008;107(6):1814-8.

Kuriyama A, Maeda H. Preoperative intravenous dexamethasone prevents tracheal intubation-related sore throat in adult surgical patients: a systematic review and meta-analysis. Canadian Journal of Anesthesia 2019;66(5):562-75.

Tien M, Gan T, Dhakal I, White W, Olufolabi A, Fink R, et al. The effect of anti‐emetic doses of dexamethasone on postoperative blood glucose levels in non‐diabetic and diabetic patients: a prospective randomised controlled study. Anaesthesia 2016;71(9):1037-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

1.
พวงประพันธ์ ป, กาฬหว้า อ, วงศาพาน ภ, นวลมณี ผ. ผลของยา Dexamethasone ในการลดอาการเจ็บคอและเสียงแหบหลังผ่าตัดที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจใส่หลอดลมแขนงชนิดสองช่อง. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];27(3):13-22. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/3779