ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • หวานใจ พรมกาวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การปฏิบัติงาน, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) อำเภอคำตากล้า จำนวน 74 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีคะแนนความรู้การปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 14.20, S.D. = 2.48) คะแนนทักษะการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 59.91, S.D. = 6.81) ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 106.62, S.D. = 6.65) ความรู้ (r = 0.246, p = 0.036) การยอมรับนับถือจากคนในชุมชน (r = 0.430, p < 0.001) การสนับสนุนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (r = 0.478, p < 0.001) การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (r = 0.252, p = 0.032) และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย (r = 0.424, p < 0.001) มีความสัมพันธ์กับภาพรวมประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการสนับสนุนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การยอมรับนับถือจากคนในชุมชน การสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่ายและความรู้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุได้ร้อยละ 61.7 (R2 = 0.617, p < 0.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการสนับสนุนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การยอมรับนับถือจากคนในชุมชน การสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่ายและมีความรู้ ส่งผลให้ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงดีขึ้น

Author Biography

หวานใจ พรมกาวงศ์, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

References

ศิรประภา หล้าสิงห์. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2566.

HDC. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567] เข้าถึงได้จาก: https://snk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำตากล้า. รายงานภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ปี 2567. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร; 2567.

ณิชารีย์ ใจคำวัง, วรดา จักษุพรรณ. ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. ว. วิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2562;3(5):1-19.

สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. ว. พยาบาลตำรวจ 2557;6(1):113-130.

วรรณภา อินต๊ะราชา. ผลการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care giver) ตามแผนการดูแลรายบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมงในเขตสุขภาพที่10 กรมอนามัย. ว. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี 2565;10(2):65-83.

พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2557.

สรายุทธ กันหลง. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ipernity.com/blog/252172/477413

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

บุญเรียง ขจรศิลป์. เทคนิคการอ่านและตีความหมายจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/197689

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

1.
พรมกาวงศ์ ห. ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];27(3):70-84. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/3796