ผลของการใช้โปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเมืองปาน จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชการ, คัดแยกผู้ป่วย, การคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ระบบคัดแยก 5 ระดับบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลัง (One group pretest -posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วย ตามแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ระบบคัดแยก 5 ระดับ (MOPH ED. Triage) ต่อการคัดแยกประเภทผู้ป่วย เปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดแยกประเภทผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม และศึกษา ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage Guideline งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมแนวทาง การคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้ MOPH ED Triage Guideline เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบบันทึกผลลัพธ์การคัดแยกระดับ ความฉุกเฉิน และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า มีการคัดแยกระดับความรุนแรงผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.10 เป็นร้อยละ 94.80 การคัดแยกที่ไม่ถูกต้องจากเดิมร้อยละ 10.90 ลดลงเหลือร้อยละ 5.20 แยกเป็นการคัดแยกที่สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 3.60 จากเดิมร้อยละ 8.00 และต่ำกวาเกณฑ ร้อยละ 1.60 จากเดิมร้อยละ 2.90 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (χ2=8.962, df=1, p=0.011) และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้โปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED TRIAGE มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.82, S.D=0.45)สรุปผลการวิจัยได้ว่า โปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage หน่วยงานสามารถนำไปใช้ในการประเมินคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤตและฉุกเฉินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
Dehli T, Fredriksen K, Osbakk SA, Bartnes K. Evaluation of a university hospital trauma team activation protocol. Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 2011;19(18):1-7. doi:10.1186/1757-7241-19-18.
Considine J, Charlesworth D, Currey J. Characteristics and outcomes of patients requiring rapid response system activation within 24 hours of emergency admission. Crit Care Resusc. 2014;16(3):184-189.
Department of Medical Service. MOPH Emergency Department triage [Internet]. Press; 2019 [cited 2024 Jul 3]. Available from: https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Population_Health/Attach/25621021104459AM_44.pdf?contentId=18326
Bunyarat S. Accuracy of the emergency triage system in the emergency room at Chiang Rai Prachanukroh Hospital: Emergency severity index (ESI) compared to Canadian triage and acuity scale (CTAS). Chiang Rai Med J. 2021;13(3):147-159.
Manangan M. Result of using triage guidelines for emergencies in the outpatient department at Chakkarat Hospital, Nakhon Ratchasima Province. J Public Health Nurs. 2020;34(3):52-65.
Ministry of Public Health. MOPH ED. TRIAGE. [Internet]. Press; 2018 [cited 2024 Jan 20]. Available
from: https://wachira.moph.go.th/web_wachira/knowledge_file/20180713_173042_86.pdf.
Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. Dtsch Arztebl Int. 2010;107(50):892-898. doi:10.3238/arztebl.2010 .0892.
Muangpan Hospital. Emergency Department Triage. 2566.
Sutriningsih A, Wahyuni CU, Haksama S. Factors affecting emergency nurses’ perceptions of the triage systems. J Public Health Res. 2020;9:1808.
Makerd L. Results of the patient sorting approach in accident and emergency nursing jobs at [institution name]. 2024.
Punyapol J. Results of using guidelines for triaging patients according to emergency level (MOPH ED Triage) at Srisangwan Hospital, Mae Hong Son Province. Lanna J Health Promot Environ Health. 2024;14(2567):18-29.
Pitjanum P. A study of emergency patient triage at the emergency department of Wangchin Hospital. J Phrae Hosp. 2020;28(1):152-162.
Yasorn P. Results of the patient sorting approach in accident and emergency nursing jobs at [institution name]. 2023.
Jumpakool R. The effect of using patient triage in the outpatient department at Pakkat Hospital, Bueng Kan Province. [Internet]. Press. 2024. [Cited 2024 July 9]. Available from: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/postdoc/20240514161946.pdf.
Thesprasit T. Development of a system for classification of patients in outpatient and emergency departments at Chokchai Hospital. Reg Health Promot Cent 9 J. 2021;15(36): 160-178.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นสมบัติของวารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทยจะนําไปตีพิมพ์อีกไม่ได้