การประเมินการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ : กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • KRITTEE PHUDTHIKARN Ratchaburi Provincial Public Health Office

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, โฆษณาทางสื่อออนไลน์, การจัดการปัญหาโฆษณา, การคุ้มครองผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ ของจังหวัดราชบุรีโดยใช้ตัวแบบ CIPP ประกอบด้วยการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีแบบคู่ขนาน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 56 คน และข้อมูลผลการดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลมูลปลายเปิด ผลการประเมินด้านบริบทกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผลผลิตกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย และประสิทธิผลของการดำเนินการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของกระบวนการ PDCA ครั้งที่ 1 เทียบกับ ผลการดำเนินงานก่อนการใช้กระบวนการ PDCA พบว่าไม่แตกต่างกัน และ ประสิทธิผลของการดำเนินการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของกระบวนการ PDCA ครั้งที่ 2 เทียบกับ ผลการดำเนินงานของกระบวนการ PDCA ครั้งที่ 1 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ ของจังหวัดราชบุรี มีความสอดคล้องกับบริบท แต่ควรมีการพัฒนาด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ เพื่อและมีการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

References

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2561.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรม ปี 2566-2568: อุตสาหกรรมยา [อินเทอร์เน็ต]; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2566] เข้าถึงได้จาก:

https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2551-2553 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

พันธ์ทิพย์ สิทธิปัญญา. พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินชนิดเม็ดของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

พัลลภ เพ็ญศิรินภา. บทความวิจัย: การศึกษาพฤติกรรมการซื้อครีมไวน์เทนนิ่งและต่อต้านริ้วรอยในระดับราคาปานกลางของกลุ่มนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรีวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://gs.northbkk.ac.th/thesis/researchpaper/511300133.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานประจำปี 2565: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคดีไซน์; 2566.

พนิตนาฏ คำนุ้ย. การโฆษณาขายยาออนไลน์ที่ผิดกฎหมายและมาตรการดำเนินการ. วารสารอาหารและยา. 2563;27(1):41-52.

ฐิติพร อินศร. การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผิดกฎหมายในสื่อสังคมประเภทเฟซบุ๊ก และข้อเสนอแนวทางบังคับใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12(1):40-48.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รวมมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 7 นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สันสวย; 2558.

เมษยา ปานทอง. ประสิทธิผลของระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนด้านโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ตของกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น [ปริญญานิพนธ์ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือแนวทางการระงับโฆษณาทางสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์: บริษัท หกหนึ่งเจ็ด จำกัด; 2564.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ขอความร่วมมือรณรงค์สร้างเครือข่าย ภายใต้แคมเปญ "No like No Share No Follow กด Report ปิด". 25 มกราคม 2566.

วชิราภรณ์ นาคสิงห์. การประเมินการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ [ปริญญานิพนธ์ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 4.5 การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต [อินเทอร์เน็ต]; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 มี.ค. 2568] เข้าถึงได้จาก: https://old.nationalhealth.or.th/th/node/4358.

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน).การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 มี.ค. 2568 ] เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/th/Our-Service/statistics-and-information/IUB2022.aspx

กนกกร สูงสถิตานนท์. แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์โดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรม ในบริบทข้อมูลจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ [ปริญญานิพนธ์ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.

สุรเชษฎ์ เดชมณี, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, สุนทรี ท.ชัยสัมฤทธิ์โชค. อุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายกรณีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางวิทยุประเภทกิจการบริการทางธุรกิจในมุมมองของพนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัดสานักงานสาธารณสุขจังหวัด. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(1):92-113

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

PHUDTHIKARN, K. (2025). การประเมินการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ : กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย, 1(2). สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/LHIJ/article/view/4761