การสอบสวนกรณีเสียชีวิตแม่ครัวโรงเรียนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และสำรวจอุบัติการณ์และการระบาดของ ผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนสิงหาคม - กันยายน 2554

ผู้แต่ง

  • ไผท สิงห์คำ กลุ่มภารกิจพัฒนานักระบาดวิทยาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภาคีเครือข่าย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • พัชรินทร์ ตันติวรวิทย์ กลุ่มภารกิจพัฒนานักระบาดวิทยาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภาคีเครือข่าย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • พิสิฐวุฒิ อยุทธ์ โรงพยาบาลอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • ทับทรวง ยอดเมือง โรงพยาบาลอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • ปราณีจิต ชัยบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • นิคม รัตนะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • สุธีรัตน์ มหาสิงห์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • มาลินี จิตตกานต์พิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุนทรียา วัยเจริญ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พิไลพรรณ พุธวัฒนะ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ กลุ่มภารกิจพัฒนานักระบาดวิทยาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภาคีเครือข่าย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ไข้หวัดใหญ่ชนิด A H3, การเสียชีวิต, การระบาด, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: สำนักระบาดวิทยาร่วมกับโรงพยาบาลสันกำแพง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสันกำแพงและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการเสียชีวิตของผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งในเขตอำเภอสันกำแพงในวันที่ 29 สิงหาคมหลังติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ค้นหาสาเหตุของการติดเชื้อและความเชื่อมโยงทางระบาด สำรวจอุบัติกรณ์ของไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนพื้นที่อำเภอสันกำแพงและดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เสียชีวิต สัมภาษณ์ครอบครัว เพื่อนร่วมงานและประชาชนในชุมชนของผู้เสียชีวิต เก็บตัวอย่างเสมหะคนในครอบครัวตรวจไข้หวัดใหญ่ ค้นหาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในชุมชนอยู่อาศัยของผู้เสียชีวิต โดยใช้นิยามผู้ป่วยสงสัย คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอสันกำแพงและมีอาการอย่างน้อย 2 อาการจากกลุ่มอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ และมีน้ำมูก โดยเริ่มมีอาการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 1 กันยายน 2555 ผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยและมีผลตรวจเสมหะยืนยันไข้หวัดใหญ่ชนิด A H3 ด้วยวิธี RT-PCR
ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ของประเทศไทย โรงพยาบาลอำเภอสันกำแพงและโรงพยาบาลต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2554 จากฐานข้อมูลเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ศึกษาอุบัติการณ์และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียน เขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง โดยสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่และสำรวจอุบัติการณ์โดยใช้นิยามโรคข้างต้นในโรงเรียน 9 แห่งจาก 11 แห่ง พร้อมสุ่มเก็บตัวอย่างเสมหะเพื่อตรวจยืนยันไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มที่มีอาการไม่เกิน 3 วัน
ศึกษาการระบาดในโรงเรียน A และ C ซึ่งพบอัตราการป่วยสูง โดยสัมภาษณ์นักเรียนและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนทั้งหมด เกี่ยวกับ อาการป่วยและการรักษาที่ได้รับ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงอายุ 57 ปี อาชีพแม่ครัวของโรงเรียน B เสียชีวิตจากปอดอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A H3 มี ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงสงสัยเบาหวาน ไม่ได้เข้ารับการรักษาและรับยา Oseltamivir ค่อนข้างช้าเนื่องจากไม่รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่คือการไปดูแลสามีที่ รพ.นครพิงค์ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นเวลา 5 วันก่อนมีอาการป่วย หลังเสียชีวิตลูกสาวสองคนป่วยและยืนยันเชื้อเดียวกัน สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2554 มีผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นสูงกว่าและเร็วกว่าในปี พ.ศ. 2553 โดยพื้นที่อำเภอเมืองเริ่มเพิ่มสูงขึ้นช่วงต้นเดือนสิงหาคม อำเภอสันกำแพงเริ่มเพิ่มช่วงกลางเดือน ส่วนอำเภออื่นรอบนอก เพิ่มขึ้นช่วงปลายเดือน ผลการสำรวจอุบัติการณ์ในโรงเรียนพบว่า โรงเรียนในตำบลสันกำแพง มีอัตราการป่วยสูงเป็นสามลำดับแรก โดยทั้งสามแห่งมีผลตรวจยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A H3 ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แต่ไม่พบความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาของ ผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยในโรงเรียน
ข้อสรุป: พบการป่วยในครอบครัว ยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A H3 มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้ป่วยรายแรก มีประวัติน้ำตาลในเลือดสูงไม่ได้รับการรักษา และได้รับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ค่อนข้างช้า พบการระบาดของไข้หวัดใหญ่ A H3 ในโรงเรียนหลายแห่ง อำเภอสันกำแพง โดยพบทั้งโรงเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแต่ไม่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน หน่วยงานสาธารณสุขได้สนับสนุนยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ให้ใช้ในคลินิกเอกชนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจจากคลินิกและโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผลข้างเคียงจากยา

References

WHO's Certified [database on the Internet]. Fact sheet N°211; Influenza (Seasonal) c -2009 [cited 2011 Sep 11]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs211/en/index.html

Lee N, Choi KW, Chan PK, Hui DS, Lui GC, Wong BC, et al. Outcomes of adults hospitalised with severe influenza. Thorax. 2010 Jun;65(6):510-5.

Heymann DL., Control of Communicable Diseases Manual. 19th Edition. Baltimore: American Public Health Association, 2004.

Hanshaoworakul W, Simmerman JM, Narueponjirakul U, Sanasuttipun W, Shinde V, et al. (2009) Severe Human Influenza Infections in Thailand:Oseltamivir Treatment and Risk Factors for Fatal Outcome. PLoS ONE 4(6): e6051. doi:10.1371/journal.pone.0006051

Praditsuwan R, Assantachai P, Wasi C, Puthavatana P, Kositanont U. The Efficacy and Effectiveness of Influenza Vaccination among Thai Elderly Persons Living in the Community. J Med Assoc Thai 2005;88(2):256-64.

Centers for Disease Control and Prevention. Antiviral Agents for the Treatment and Chemoprophylaxis of Influenza. MMWR 2011;60(1):1-40.

Vittoria Colizza, Alain Barrat, Marc Barthelemy, AlainJacques Valleron, Alessandro Vespignani. Modeling the Worldwide Spread of Pandemic Influenza: Baseline Case and Containment Interventions. PLoS Med. 2007 January; 4(1): e13. Published online 2007 January 23. doi: 10.1371/journal.pmed.0040013

Centers for Disease Control and Prevention. Prevention and Control of Influenza with Vaccines. MMWR 2010;59(8):1-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.